พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P. A. Payutto)

ดุลยภาพของอิสรภาพทั้ง ๔

พระพรหมคุณาภรณ์

ข้อกำหนดบางอย่างควรจัดให้มีขึ้น แต่ที่ดียิ่งกว่านั้นก็คือ มันต้องสมดุล เราไม่ควรเห็นว่า เรื่องนี้แยกจากอิสรภาพ ๔ ระดับ ขั้นแรก คือ สามารถทำให้สมดุล ต่อมาก็มีความเชื่อมโยง และพึ่งพาอาศัยกันและกัน เราไม่หยุดหรือจำกัดตัวเองให้อยู่แค่อิสรภาพในระดับพื้นฐาน เราสอนให้คนพัฒนาตัวเองไปสู่จุดที่สูงกว่ายิ่งๆ ขึ้นไป และเมื่อเขาไปสู่อิสรภาพที่สูงขึ้น อิสรภาพที่สูงกว่านี้ จะทำให้อิสรภาพในระดับต่ำกว่าเกิดความสมดุล เช่น Physical Freedom กับ Social Freedom

ตัวอย่าง Social Freedom คนมักคิดว่า เขาควรได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการจะทำ แต่ถ้าเขาพัฒนาตัวเองไปสู่ Spiritual Freedom หรือ Mental Freedom หรือ Intellectual Freedom เขาจะยกระดับ Social Freedom อาตมาหมายถึง Social Freedom ในทางที่ไม่ดี หรือในทางลบ ให้เปลี่ยนไปในทางที่ดี เพราะว่าเขาได้พัฒนาปัญญาของเขาแล้ว จึงเกิดความรู้ที่ว่า สิ่งนี้สิ่งนั้นต่างหากจะนําไปสู่ความสงบร่มเย็นของสังคม ของคนอื่น และของตัวเขาเอง นี่คือ การทำให้อิสรภาพสมดุลนั่นเอง

ไม่เพียงแต่เท่านั้น อิสรภาพในระดับนี้ คือ การพึ่งพาอาศัยกัน เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ทำไมเราต้องมี Physical Freedom ทำไมเราต้องมี Social Freedom เหตุผลหนึ่งก็คือ อิสรภาพในลักษณะนี้ ช่วยให้เราสามารถพัฒนาตัวเองให้ขึ้นไปสู่อิสรภาพขั้นสูงต่อไป ถ้าไม่มี Social Freedom และ Physical Freedom คนก็จะไม่สามารถพัฒนาตัวเองให้เห็นแจ้งอิสรภาพในระดับที่ ๓ และระดับที่ ๔ ต่อไป เมื่อคนได้ใช้อิสรภาพในขั้นต้นช่วยเกื้อหนุน เป็นเงื่อนไขในการพัฒนาไปสู่อิสรภาพในขั้นสูงต่อไป การแก้ไขปัญหาก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ

นายมิวเซนเบิร์ก

ผมคิดว่า เป็นความจริงที่ว่า ความสนใจในเรื่องทางจิต (Spiritual Matters) ช่วยเพิ่มพูนบางสิ่งให้กับมาตรฐานของชีวิต ลัทธิบริโภคนิยมในสังคมตะวันตก แม้คนรวยก็ต้องเจอปัญหาอันเดียวกันนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะในประเทศที่ยากจนเท่านั้น มันเป็นปัญหาทั่วไป ถ้าคนมีความสามารถอย่างที่ท่านได้กล่าวมา คือ รู้จักที่จะมีความสุข ก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร ที่เป็นปัญหาคือเขาไม่รู้ สิ่งที่เราพยายามทำก็คือ การดูว่านักธุรกิจจะสามารถทำอะไรได้บ้าง รัฐบาลสามารถทำอะไรได้บ้าง เพราะทั้งสองฝ่ายมีบทบาทต้องเล่น ผมเห็นข่าวในหนังสือพิมพ์วันนี้ วิกฤติการณ์เรื่องน้ำมันมีราคาสูงขึ้นๆ ดังนั้น รัฐบาลจึงออกมาพูดว่า เราจะเพิ่มภาษีรถยนต์ขึ้นอีกสำหรับรถที่มีแรงม้าสูง เพราะมันกินน้ำมันมากกว่ารถที่มีแรงม้าน้อย นักธุรกิจก็จะคัดค้าน เพราะเขาได้กำไรจากรถใหญ่มากกว่ารถเล็ก ถ้าผู้บริโภคหันมาใช้รถเล็ก ราคาถูก บริษัทฯ ก็จะได้กำไรน้อยลง อย่างนี้เป็นต้น ผมคิดว่า ตรงนี้มีคําถามที่ว่า ทำอย่างไรรัฐบาลจึงจะออกกฎหมายที่ถูกต้อง และสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์

The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.