พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

ศรัทธาและปัญญาไม่ใช่คู่แข่งขัน

พระพรหมคุณาภรณ์

นี่คือวิธีการที่เขาแปลคำศัพท์ให้พอเข้าใจ แต่คำในภาษาบาลี คือ มิตตะ มิตตะ คือ เพื่อน แต่เพื่อนในที่นี้ อาจเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นผู้แนะนำ ใครก็ได้ที่อยู่ล้อมรอบตัวเรา

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม มิตรผู้แนะนำ หรือผู้สั่งสอนทั้งหมดนี้ ก็เป็นผู้เกื้อหนุน เรียกว่า “ปัจจัยภายนอก” จะเอาปัญญามาใส่ในสมองเราไม่ได้ การที่จะเกิดปัญญาอยู่ที่อิสรภาพในกระบวนการทางปัญญาของเราเอง จึงไม่มีการบอกว่าต้องเชื่อ

ในพระพุทธศาสนา ศรัทธาคือความเชื่อ กับปัญญาคือความรู้เข้าใจ ไม่ใช่คู่แข่งที่จะแย่งชิงที่ยึดครองกัน แต่ศรัทธาเป็นบันไดของปัญญา

นายมิวเซนเบิร์ก

ขอย้อนกลับไปที่ กฎปฏิจจสมุปบาท อีกครั้งหนึ่งนะครับ ผมคิดว่าแนวคิดสำคัญในหนังสือคือ หากนักธุรกิจที่มีการศึกษามีความฉลาด ที่สามารถล่วงรู้ทิศทางของความคิดและสังเกตว่าเมื่อใดมันไม่กระจ่าง ไม่สว่าง เพราะกิเลสต่างๆ เช่นกำลังโกรธ กำลังอิจฉา กำลังกังวลเรื่องคู่แข่ง กำลังกลัวอะไรต่ออะไรต่างๆ นานา แน่นอนว่า เขาก็จะไม่สามารถคิดอะไรได้กระจ่าง และมีแนวโน้มจะตัดสินใจผิด มันสำคัญมากที่จะยอมรับกระบวนการปฏิจจสมุปบาท ถ้ามันไปในทางที่ผิด เมื่อเกิดความอยาก และถูกแต้มสีด้วยแรงตัณหา เมื่อผมพูดกับพวกนักธุรกิจว่า มันมีความเป็นไปได้ในเรื่องการฝึกจิต จนกระทั่งคุณสามารถจะเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริง โดยไม่ถูกย้อมสีด้วยความรู้สึกต่างๆ ในส่วนนี้ผมคิดว่ามีประโยชน์มาก คำถามก็คือ ผมจะนำเสนออย่างไร ในหนังสือของท่าน มีถึง ๑๒ ขั้นตอน ในหนังสืออื่นก็มี ๑๒ ขั้นตอนเหมือนกัน แต่คำอาจแตกต่างไปบ้าง

ผมอยากนำเสนอด้วยวิธีแตกต่างกัน จากวิธีที่นักธุรกิจคิด และผมก็อยากจะเริ่มที่ผัสสะ (Contact) เป็นจุดเริ่มแรก ไม่ใช่ อวิชชา (Ignorance) ซึ่งผัสสะอยู่ตรงกลาง ผัสสะมี Input ที่มาจาก Sense Organ เพราะนักธุรกิจส่วนใหญ่มีการกระตุ้นเกิดขึ้นในจิตใจ และออกมาจากจิตใจ นี่คือปัญหาที่ผมต้องทำเกี่ยวกับเรื่องการตัดสินใจ เมื่อความคิดถูกใส่สีด้วยอารมณ์ การกระทำมีพื้นฐานมาจากแรงจูงใจที่เป็นทางลบ หรือใครบางคนรู้ว่ากำลังทำอะไร ทำร้ายใคร ขั้นต่อไป คือการกระทำ ขั้นสุดท้าย คือ ผลที่ติดตามมาในทางลบ ผมอยากจะนำเสนอ ๔ ขั้นตอน คือ ปฏิกิริยาตอบสนองต่อผัสสะ ซึ่งสามารถผิดพลาดได้ เมื่อมันได้กลายเป็นแผนการที่จะทำบางสิ่งซึ่งมาจากแรงจูงใจที่ไม่ดี (bad motivation) และทำให้การกระทำนั้นสำเร็จ ซึ่ง ๑. ข้อมูลจาก Sense Organ หรือ จิต ๒. ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางความคิด ซึ่งมาจากสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง ปฏิจจสมุปบาทเกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่เป็นไปในทางลบ พูดอีกอย่างว่า ถ้าในใจของผมมีปฏิกิริยาว่าผมควรไปช่วยคนหนึ่ง ผมควรจะทำตาม โดยไม่เกี่ยวข้องกับ Craving

เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง