พระพรหมคุณาภรณ์
อาตมาเคยได้ยินมาบ้าง แต่ไม่มาก ในเรื่องนี้ แม้ว่านี่คือการพัฒนาอย่างหนึ่ง แต่เป้าหมายของจุดประสงค์ทั้งหมด กำหนดไว้ที่วัตถุ แม้ว่าเขาจะคิดถึงมนุษย์คนอื่น ไม่ว่าจะในแง่ปัจเจกบุคคล หรือทั้งหมด และเขาคิดถึงสิ่งแวดล้อมด้วยก็จริง แต่เป็นไปในทางวัตถุ และด้วยเหตุผลนี้ จึงมีความขัดแย้งเกิดขึ้น เป็นความขัดแย้งระหว่างแนวคิดใหม่กับเป้าหมายของเขาเอง ในการได้รับกำไร หรือประโยชน์สูงสุด
ปัจจุบันกระบวนการทั้งสองได้กลายเป็นความขัดแย้ง ซึ่งไม่ใช่ความขัดแย้งภายนอก หากคือความขัดแย้งภายใน ซึ่งก็คือความขัดแย้งในใจ ตราบใดที่มันยังเป็นความขัดแย้ง มันก็ยากที่จะไปถึงเป้าหมาย
นายมิวเซนเบิร์ก
ผมคุยกับผู้อำนวยการบริหารของบริษัทค้าน้ำมันรายใหญ่บริษัทหนึ่ง ซึ่งมีปัญหาอยู่ที่ทะเลเหนือ คือ เขาต้องการจมฐานขุดเจาะน้ำมัน เขากล่าวว่า แนวคิด ๓ ประการดังกล่าว เป็นเหมือนระบบไฮดรอลิก คุณต้องการดูทั้งสามประการไปพร้อมๆ กัน ถ้าคุณดูเพียงแค่ประการหนึ่งประการใด เช่นคิดแต่ในเรื่องผลกำไร โดยไม่สนใจประการอื่นๆ คุณก็จะต้องเจอกับปัญหาซึ่งเกิดจากความไม่สมดุล
กรณีตัวอย่างสำหรับบริษัทฯ นี้ เขาตัดสินใจจะจมฐานขุดเจาะน้ำมันในทะเลเหนือ แต่นักสิ่งแวดล้อมออกมาบอกว่า คุณทำอย่างนั้นไม่ได้ คุณไม่สามารถใช้ทะเลเป็นที่ฝังขยะของคุณ ทางบริษัทน้ำมันตระหนักดีว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องอ่อนไหวมาก หากบริษัทฯ ตกลงทำเช่นนั้น คนก็จะไม่ซื้อน้ำมันของเขา ไปซื้อของบริษัทฯ อื่น ดังนั้น เขาจึงเปลี่ยนนโยบายใหม่ เพราะตระหนักดีว่า ชื่อเสียงของบริษัทฯ เป็นสิ่งสำคัญ ไม่สมควรนําไปเสี่ยงต่อการวิพากษ์วิจารณ์ของสาธารณชน มีองค์กร NGO มากกว่าสามแสนองค์กรได้จับตาดูว่า บริษัทฯ ได้ทำอะไรผิดต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสื่อก็คอยจ้องจับผิด ดังนั้น เพื่อรักษาทั้งชื่อเสียง และผลประโยชน์ บริษัทฯ จึงต้องพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการมองของคนอื่น
พระพรหมคุณาภรณ์
นี่คือเหตุผลที่ว่า เราควรแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความขัดแย้งภายในใจ และความขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคสู่เป้าหมาย ไม่ว่าเป้าหมายส่วนตัว หรือเป้าหมายในเรื่องมนุษยธรรม ต้องทำให้ประสานกลมกลืน ถ้าสามารถทำให้กลมกลืนได้ ก็จะเป็นวิธีการแก้ไขความขัดแย้ง ข้อแรก เขาต้องทำให้กระจ่าง แม้แต่คำว่า ความอยู่เย็นเป็นสุขของมวลมนุษยชาติ (Well-being of human beings หรือ Well-being of mankind)