เมื่อธรรมดามาถึง รู้ให้ทัน และทำให้ถูก

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

อมฤตพจนา1

ชีวิต-ความตาย

 

วโย รตฺตินฺทิวกฺขโย
วัยสิ้นไปตามคืนและวัน

(๑๕/๑๗๓)

ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ
วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป
จากประโยชน์ที่จะทำ

(๒๖/๓๕๙)

รตฺโย อโมฆา คจฺฉนฺติ
วันคืน ไม่ผ่านไปเปล่า

(๒๘/๔๓๙)

อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
วโยคุณา อนุปพฺพํ ชหนฺติ
กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป
วัยก็หมดไปทีละตอนๆ ตามลำดับ

(๑๕/๓๐๐)

รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ
รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป
แต่ชื่อและโคตรไม่เสื่อมสลาย

(๑๕/๒๑๐)

ทหราปิ จ เย วุฑฺฒา เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา
อฑฺฒา เจว ทลิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน
ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด

(๑๐/๑๐๘)

น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ
เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดก็ติดตามไปไม่ได้

(๑๓/๔๕๑)

กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลเวลาย่อมกลืนกินสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง

(๒๗/๓๔๐)

ตํ ตญฺเจ อนุโสเจยฺย ยํ ยํ ตสฺส น วิชฺชติ
อตฺตานมนุโสเจยฺย สทา มจฺจุวสํ ปตฺตํ
ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงคนที่ไม่มีอยู่แก่ตน คือ ผู้ที่ตายไปแล้วไซร้
ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา

(๒๗/๖๑๑)

น เหว ติฏฺํ นาสีนํ น สยานํ น ปตฺถคุํ
อายุสังขาร ใช่จะประมาทไปตามสัตว์ ผู้ยืน นั่ง นอน หรือเดินอยู่ก็หาไม่

(๒๗/๖๑๒)

ยาวุปฺปตฺติ นิมิสฺสติ ตตฺราปิ สรตี วโย
วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไป ทุกหลับตา ทุกลืมตา

(๒๗/๖๑๒)

ตตฺถตฺตนิ วตปฺปนฺเถ วินาภาเว อสํสเย
ภูตํ เสสํ ทยิตพฺพํ จวิตํ อนนุโสจิยํ
เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกันก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย
หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ควรเมตตาเอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้ว

(๒๗/๖๑๓)

ยถาปิ ทารโก จนฺทํ คจฺฉนฺตํ อนุโรทติ
เอวํ สมฺปทเมเวตํ โย เปตมนุโสจตติ
ทยฺหมาโน น ชานาติ าตีนํ ปริเทวิตํ
ตสฺมา เอตํ น โสจามิ คโต โส ตสฺส ยา คติ
ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องไห้ขอพระจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ
คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา

(๒๗/๗๒๐)

ผลานมิว ปกฺกานํ นิจฺจํ ปตนโต ภยํ
เอวํ ชาตาน มจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํ
ผลไม้สุกแล้ว ก็หวั่นแต่จะต้องร่วงหล่นไป ตลอดเวลา ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น

(๒๗/๑๕๖๘)

สายเมเก น ทิสฺสนฺติ ปาโต ทิฏฺา พหู ชนา
ปาโต เอเก น ทิสฺสนฺติ สายํ ทิฏฺา พหู ชนา
ตอนเช้า ยังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเย็น บางคนก็ไม่เห็น
เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็น

(๒๗/๑๕๖๙)

เอโกว มจฺโจ อจฺเจติ เอโกว ชายเต กุเล
สํโยคปรมาเตฺวว สมฺโภคา สพฺพปาณินํ
จะตายจากก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว
ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง

(๒๗/๑๕๗๓)

น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ปิตา นปิ พนฺธวา
อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ าตีสุ ตาณตา
เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี

(๒๕/๓๐)

อญฺเปิ ปสฺส คมิเน ยถากมฺมูปกเค นเร
มจฺจุโน วสมาคมฺม ผนฺทนฺเตวิธ ปาณิโน
ดูสิ! ถึงคนอื่นๆ ก็กำลังเตรียมตัวเดินทางไปตามยถากรรม
ที่นี่ สัตว์ทั้งหลายเผชิญกับอำนาจของพญามัจจุราชเข้าแล้ว กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น

(๒๕/๓๘๐)

สุปิเนน ยถาปิ สงฺคตํ ปฏิพุทฺโธ ปุริโส น ปสฺสติ
เอวมฺปิ ปิยายิกํ ชนํ เปตํ กาลกตํ น ปสฺสติ
คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีก เหมือนคนตื่นขึ้นไม่เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน

(๒๕/๔๑๓)

ยสฺส รตฺยา วิวสาเน อายุ อปฺปตรํ สิยา
วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุเหลือน้อยเข้าทุกที

(๒๘/๔๓๗)

มจฺจุนาพฺภหโต โลโก ชราย ปริวาริโต
สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น ถูกชราปิดล้อม

(๒๘/๔๓๗)

ยถา วาริวโห ปูโร คจฺฉํ น ปริวตฺตติ
เอวมายุ มนุสฺสานํ คจฺฉํ น ปริวตฺตติ
แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลายย่อมไม่เวียนกลับมา สู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น

(๒๘/๔๓๙)

ตสฺมา อิธ ชีวิตเสเส กิจฺจกโร สิยา นโร น จ มชฺเช
เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท

(๒๕/๓๘๗)

ปาปญฺจ เม นตฺถิ กุหิญฺจิ ตสฺมา น สงฺเก มรณาคมาย
ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทำไว้ ณ ที่ไหนๆ เลย ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง

(๒๘/๑๐๐๐)

1จากหนังสือ อมฤตพจนา ของพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
มูลนิธิพุทธธรรม จัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๒๐๑-๒๑๓
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง