ปัญหาภิกษุณี: บททดสอบสังคมไทย

... เรื่องที่คิดว่าน่าจะมาพูดมี 3 ประเด็น

  1. เราต้องเริ่มต้นด้วยการตั้งจิตเมตตา ... เราก็มีความปรารถนาดี  คือ อยากให้ผู้หญิงมีโอกาส มากขึ้น   ที่จะปฏิบัติเพื่อบรรลุผล ... ให้เต็มศักยภาพของตน
  2. ความปรารถนาดีและความต้องการของเรานี้ได้แค่ไหน ก็ต้องขึ้นกับหลักการ เราต้องดูว่าหลักการเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธบัญญัติไว้อย่างไรในเรื่องการบวชเป็นภิกษุณี เมื่อหลักการเป็นอย่างนี้ ทำได้เท่าไหนก็เท่านั้น
  3. เรื่องเกี่ยวกับสิ่งดีที่เรามีอยู่แล้ว ซึ่งบางทีเราก็มองข้ามไป ไม่เอาใจใส่ ... คือการที่สังคมไทยเรามีแม่ชีสืบมา ... ก็เป็นเครื่องหมายที่บอกให้เรารู้ว่าสังคมไทยเราเคยพยายามหาช่องทาง ให้ผู้หญิงได้มีโอกาสในการแสวงวิเวกหาความสงบในการมีชีวิตแบบผู้ปลีกตัวออกจากสังคม แล้วบำเพ็ญเพียรในการปฏิบัติในทางจิตภาวนา และปัญญาภาวนา ...

...สิ่งที่มีอยู่แล้วนี้ทำอย่างไรเราจะมาช่วยกันส่งเสริมหรือจัดทำให้ดี อย่าให้ใครติเตียนได้ว่า ขนาดสิ่งที่มีอยู่แล้วในสังคม เราก็ยังไม่สามารถทำให้ดีได้จะคอยแต่ตื่นสิ่งใหม่ แล้วสิ่งใหม่นั้นต่อไปก็คงไม่ได้เรื่องอีก ...

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ ชาวธรรมะร่วมสมัย ณ วัดญาณเวศกวัน เมื่อ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๔
เปลี่ยนชื่อจาก ทัศนะของพระพุทธศาสนา ต่อสตรีและการบวชเป็นภิกษุณี
ข้อมูลพัฒนาการ
  • เดิมชื่อ "ทัศนะของพระพุทธศาสนา ต่อสตรีและการบวชภิกษุณี" ซึ่งเคยพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง และได้นำเรื่องที่พูดใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔ มารวมด้วย เพิ่มขึ้นเป็นตอนที่ ๑ และเลื่อนเรื่องเดิมที่ตอบคำถามในปี ๒๕๔๑ ไปเป็นตอนที่ ๒ พร้อมกับตั้งชื่อใหม่ว่า "ปัญหาภิกษุณี : บททดสอบสังคมไทย"
พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๔๔
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๕
ISBN974-344-152-2, 974-409-113-4
เลขหมู่BQ4570.W6

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

พบหนังสือธรรมะ 4 เรื่อง
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง