ทัศนะของพระพุทธศาสนา ต่อสตรีและการบวชเป็นภิกษุณี

    ... ถ้ามองในแง่การบรรลุธรรม ก็คล้ายกับว่าหมดความเป็นผู้หญิงเป็นผู้ชาย ไม่ต้องพูดถึงเพราะทั้งหญิงและชายมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ความเป็นมนุษย์ ... ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า แต่ละคนเกิดเป็นหญิงบ้าง เป็นชายบ้างหมุนเวียนกันไป ... ทุกคนเป็นมนุษย์ ... จึงมีศักยภาพในการที่จะบรรลุธรรมเช่นเดียวกัน ...

    ... ตอนแรกที่พระมหาปชาบดีขออนุญาต พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตซึ่งเป็นการพิจารณาในแง่ของสังคม แต่เมื่อยกเหตุผลในแง่การบรรลุธรรม อันนี้ก็ทรงอนุญาตให้บวช ภิกษุณีก็ต้องตระหนักไว้ว่า การอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นนี้เพื่อเหตุผลในการบรรลุธรรม แล้วก็ให้มุ่งที่นี ...

   ... การอนุญาตให้บวชภิกษุณี เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า คือต้องเป็นไปตามพุทธบัญญัติ มหาเถรสมาคมไม่มีอำนาจอะไรเลย มหาเถรสมาคมเป็นเรื่องบัญญัติใหม่ตามกฎหมายของบ้านเมือง แม้แต่สงฆ์ที่เป็นการปกครองแบบพระพุทธเจ้า พระภิกษุสงฆ์ก็ไม่มีอำนาจที่จะให้ภิกษุณีบวช และการบอกว่าเป็นเรื่องไม่มีอุปชฌาย์ ก็ยังไม่ถูก คือการบวชเป็นภิกษุณีสำเร็จด้วยสงฆ์ เช่นเดียวกับสงฆ์เหมือนกัน เมื่อไม่มีภิกษุณีสงฆ์แล้ว จะบวชภิกษุณีได้อย่างไร ไม่ใช่อยู่ที่ตัวอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์บวชไม่ได้หรอก ถ้าไม่มีภิกษุณีย์สงฆ์ ถึงมีอุปัชฌาย์มีภิกษุณีรูปเดียวเป็นอุปัชฌาย์ ก็บวชใครให้เป็นภิกษุณีไม่ได้...

ภาษาไทย
ที่มาจาก การสนทนาธรรม แก่ คุณภาวนีย์ บุญวรรณ นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ ณ วัดญาณเวศกวัน เมื่อ ๑๗ กันยายน ๒๕๔๑
เปลี่ยนไปสู่ ปัญหาภิกษุณี: บททดสอบสังคมไทย
พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม ๒๕๔๔
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๔
ISBN974-344-112-3, 974-409-069-3, 974-409-073-1
เลขหมู่BQ4570.W6

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

พบหนังสือธรรมะ 4 เรื่อง
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง