ฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา ปุจฉา-วิสัชนา

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

คาถาเสริมบุญในการปิดทอง

เพื่อให้การปิดทองลูกนิมิตเป็นบุญเป็นกุศลมากขึ้น โดยเจริญด้วยคุณค่าสาระทางธรรมทางปัญญา จึงขอมอบคาถาพุทธภาษิตให้ท่านที่จะปิดทองจดจำเป็นคติ และนำไปว่าขณะปิดทอง โดยปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้

ขั้นตอนการปิดทองลูกนิมิต

๑. นำแผ่นทองท่านละ ๙ แผ่นพร้อมทั้งคาถาพุทธภาษิต ๑ แผ่น จากตู้ที่จัดไว้

๒. ท่องคาถาพุทธภาษิตให้คล่อง

๓. ขณะปิดทองลูกนิมิตแต่ละลูก ทำจิตใจให้เบิกบานสดใส พร้อมกับว่าคาถาพุทธภาษิตไปด้วย

หมายเหตุ:

- เมื่อปิดทองเสร็จแล้ว โปรดทิ้งกระดาษประกบแผ่นทองลงในถัง เพื่อช่วยรักษาความสะอาดบริเวณวัด

- ถ้าแผ่นทองหมด หรือหาแผ่นทองไม่พบ

  โปรดติดต่อ แจ้งเจ้าหน้าที่วัด หรือพระภิกษุให้ทราบ

ต่อไปนี้จะนำคาถาพุทธภาษิตมาลงพิมพ์เรียงลำดับไว้ เพื่อให้ผู้ที่ใฝ่ธรรมจะได้อ่านไตร่ตรองเจริญธรรม หรือจดจำไว้เป็นคติสืบไป

คาถาพุทธภาษิต

(เรียงตามอักษรบาลี)

 

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ (๑๔/๕๒๗)

รีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้

อตฺตนา โจทยตฺตานํ (๒๕/๓๕)

จงเตือนตนด้วยตนเอง

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ (๒๕/๒๒)

มีตนที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละ คือได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก

อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ (๑๕/๖๖๕)

ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นเครื่องรุ่งเรืองของคน

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา (๒๕/๑๖)

บัณฑิตย่อมฝึกตน

อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ (๒๕/๓๑๘)

การงานไม่คั่งค้างสับสน เป็นมงคลอันสูงสุด

อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโต วิปจฺจติ (๒๗/๒๔๔๔)

ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย

อปฺปมตฺตา น มียนฺติ (๒๕/๑๒)

ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย

อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ (๑๐/๑๔๓)

จงทำประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท

อปฺปมาโท อมตํ ปทํ (๒๕/๑๒)

ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย 

อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกน วา (๒๖/๓๕๙)

เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้อะไรบ้าง

อโหรตฺตมตนฺทิตํ ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ (๑๔/๕๒๒)

ขยันทั้งคืนวัน ไม่ซึมเซา นั้นแลเรียกว่า มีแต่ละวันนำโชค 

อาปูรติ ธีโร ปุญฺสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ (๒๕/๑๙)

ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี

อาโรคฺยปรมา ลาภา (๑๓/๒๘๗)

ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ

อาสึเสเถว ปุริโส (๒๘/๔๕๐)

เป็นคนควรหวังเรื่อยไป

กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุ (๒๕/๑๔)

เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง พึงสร้างความดีไว้ให้มาก

กถมฺภูตสฺส เม รตฺตินฺทิวา (๒๔/๔๘)

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่

กมฺมุนา วตฺตตี โลโก (๑๓/๗๐๗)

สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม

กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ (๑๓/๗๐๗)

เป็นคนประเสริฐ เพราะการกระทำ

โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ (๑๕/๑๙๙)

ฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข

ขโณ โว มา อุปจฺจคา (๒๕/๓๒๗)

อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านเลยไปเสีย

จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ (๒๕/๑๓)

การฝึกจิต ให้เกิดผลดี

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ (๒๕/๑๓)

จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้

จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี (๒๕/๑๓)

ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต

ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ (๑๕/๒๘๑)

ทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลดี

ททมาโน ปิโย โหติ (๒๒/๓๕)

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก

ทนฺโต เสฏฺโ มนุสฺเสสุ (๒๕/๓๓)

ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้วประเสริฐสุด

ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม (๑๕/๒๓๙)

พึงบากบั่นทำการให้มั่นคง

ทินฺนํ สุขผลํ โหติ (๑๕/๑๓๖)

ของที่ให้แล้ว ชื่อว่าอำนวยสุขเป็นผลแล้ว

เทวา น อิสฺสนฺติ ปุริสปรกฺกมสฺส (๒๗/๕๐๕)

ความเพียรของคนไม่ลดละ ถึงเทวดาก็กีดกันไม่ได้

ธมฺมจารี สุขํ เสติ (๒๕/๒๓)

ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

ธมฺมปีติ สุขํ เสติ (๒๕/๑๖)

ผู้อิ่มใจในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข

ธมฺเม ิโต ปรโลกํ น ภาเย (๑๕/๒๐๔)

ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก

ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ (๒๖/๓๓๒)

ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ (๒๖/๓๓๒)

ธรรมนั่นแหละ รักษาผู้ประพฤติธรรม

ธีโร จ สุขสํวาโส (๒๕/๒๕)

ปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข

นตฺถิ ปฺาสมา อาภา (๑๕/๒๙)

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี

นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา (๒๓/๑๑๗)

ขุมกำลังของบัณฑิต คือการรู้จักพินิจ

นิปฺผนฺนโสภิโน อตฺถา (๑๕/๘๙๔)

ประโยชน์งามตรงที่สำเร็จ

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ (ขุ.ธ. ๒๕/๔๒)

นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

นิวตฺตยนฺติ โสกมฺหา (๒๗/๑๔๙๒)

คนใจการุณย์ ช่วยแก้ไขให้คนหายโศกเศร้า

โนปลิปฺปติ โลเกน โตเยน ปทุมํ ยถา (๒๖/๓๘๔)

ไม่ติดโลก เหมือนบัวไม่ติดน้ำ

ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ (๑๕/๒๒)

อยู่กับปัจจุบัน ผิวพรรณจะผ่องใส

ปฺํ นปฺปมชฺเชยฺย (๑๔/๖๘๓)

ไม่พึงละเลยการใช้ปัญญา

ปฺฺา เจนํ ปสาสติ (๑๕/๑๗๕)

ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว

ปฺา นรานํ รตนํ (๑๕/๑๕๙)

ปัญญาเป็นดวงแก้วของคน

ปฺา โลกสฺมิ ปชฺโชโต (๑๕/๒๑๗)

ปัญญาเป็นดวงชวาลาในโลก

ปฺา ว ธเนน เสยฺโย (๑๓/๔๕๑)

ปัญญาแล ประเสริฐกว่าทรัพย์

ปฺา สุตวินิจฺฉินี (๒๗/๒๔๔๔)

ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ได้เล่าเรียน

ปฺาชีวึ ชีวิตมาหุ เสฏฺ (๑๕/๘๔๑)

ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด

ปฺาย ติตฺตีนํ เสฏฺ (๒๗/๑๖๔๓)

อิ่มด้วยปัญญา ประเสริฐกว่าความอิ่มทั้งหลาย

ปฺาย อตฺถํ ชานาติ (๒๖/๒๖๘)

ด้วยปัญญา จึงจะรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์

ปฺายตฺถํ วิปสฺสติ (๒๓/๓)

ด้วยปัญญา จึงจะเห็นอรรถชัดแจ้ง

ปฺาสหิโต นโร อิธ ทุกฺเข สุขานิ วินฺทติ (๒๗/๒๔๔๔)

คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ

ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺาตา วินฺทเต ธนํ (๑๕/๘๔๕)

ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ ย่อมหาทรัพย์ได้

ปณฺฑิตา โสกนุทา ภวนฺติ (๒๘/๓๓๓)

บัณฑิตช่วยปัดเป่าทุกข์โศกความเศร้าของปวงชน

ปุฺํ โจเรหิ ทูหรํ (๑๕/๑๕๙)

ความดี โจรลักไม่ได้

ภเวยฺย ปริปุจฺฉโก (๒๘/๙๔๙)

พึงเป็นนักสอบถามหาความรู้

โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ (๑๑/๑๙๗)

ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก

มา ชาตึ ปุจฺฉ จรณฺจ ปุจฺฉ (๑๕/๖๖๐)

อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ

ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺพฺพํ (๒๗/๑๓๖)

ได้สิ่งใด พึงพอใจด้วยสิ่งนั้น

โยคา เว ชายเต ภูริ (๒๕/๓๐)

ปัญญา ย่อมเกิดเพราะใช้การ

รตฺโย อโมฆา คจฺฉนฺติ (๒๘/๔๓๙)

คืนวันไม่ผ่านไปเปล่า

ลพฺภา ปิยา โอจิตตฺเตน ปจฺฉา (๒๘/๓๗๕)

เตรียมตัวไว้ให้ดีก่อนแล้ว ต่อไปก็จะได้สิ่งที่รัก

วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา (๑๕/๘๙๑)

เป็นคนควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าผลที่หมายจะสำเร็จ

วิเจยฺยทานํ สุคตปฺปสตฺถํ (๑๕/๙๙)

ให้ด้วยพิจารณา พระศาสดาทรงสรรเสริญ

วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺา (๑๕/๒๐๖)

บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชชาประเสริฐสุด

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเส (๑๑/๗๒)

ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรรยา ชื่อว่าประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา

วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ (๒๕/๓๑๑)

คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

สจิตฺตมนุรกฺขถ (๒๕/๓๓)

จงตามรักษาจิตของตน

สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ (๒๕/๓๑๑)

สัจจะ เป็นรสดียิ่งกว่าประดารส

สติ ปโตโท ธีรสฺส (๒๘/๘๙๑)

สติเป็นปฏักของนักปราชญ์

สติ โลกสฺมิ ชาคโร (๑๕/๒๑๗)

สติเป็นความตื่นตัวในโลก

สติมโต สทา ภทฺทํ (๑๕/๘๑๒)

คนมีสติ เท่ากับมีของดีที่นำโชคตลอดเวลา

สติมโต สุเว เสยฺโย (๑๕/๘๑๒)

คนมีสติย่อมดีขึ้นทุกวัน

สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ (๑๕/๑๗๕)

ศรัทธาเป็นมิตรคู่ใจตน

สทฺธีธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺ (๑๕/๒๐๓)

ศรัทธาเป็นทรัพย์ประเสริฐของคนในโลกนี้

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ (๒๕/๓๔)

การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง

สพฺพํ อิสฺสริยํ สุขํ (๒๕/๖๓)

อิสรภาพเป็นสุขทั้งสิ้น

สพฺเพสํ สหิโต โหติ (๒๓/๑๒๘)

คนดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน

สมคฺคานํ ตโป สุโข (๒๕/๒๕)

เมื่อคนพร้อมเพรียงกัน ความเพียรพยายามก็นำสุขมาให้

สมุฏฺาเปติ อตฺตานํ อณุ อคฺคึว สนฺธมํ (๒๗/๔)

ตั้งตัวให้ได้ เหมือนก่อไฟจากเชื้อนิดเดียว

สยํ กตานิ ปุฺานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ (๑๕/๑๕๙)

บุญที่ทำไว้เอง เป็นมิตรตามตัวไปเบื้องหน้า

สยํ กตานิ ปุฺานิ ตํ เว อาเวณิยํ ธนํ (๒๗/๑๙๙๘)

ความดีที่ทำไว้เองนั่นแล เป็นทรัพย์ส่วนตัวแท้ๆ

สํวิรุฬฺเหถ เมธาวี (๒๗/๒๑๔๑)

เล่าเรียนมีปัญญา จะเจริญงอกงาม

สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ (๒๗/๑๐๘)

อะไรควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด

สีลํ กวจมพฺภุตํ (๒๖/๓๗๘)

ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์

สีลํ ยาว ชรา สาธุ (๑๕/๑๕๙)

ศีลยังประโยชน์ ให้สำเร็จตราบเท่าชรา

สีลํ อาภรณํ เสฏฺ(๒๖/๓๗๘)

ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

สุกรํ สาธุนา สาธุ (๒๕/๑๒๔)

ความดี คนดีทำง่าย

สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ (๒๒/๓๗)

คนฉลาด ให้ความสุข ก็ได้ความสุข

สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ (๒๒/๓๗)

คนฉลาด ให้ความสุข ก็ได้ความสุข

สุขํ วต ตสฺส น โหติ กิฺจิ (๒๕/๕๕)

ไม่มีอะไรค้างใจกังวล มีแต่ความสุขหนอ

สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี (๒๕/๑๙๔)

สามัคคีของหมู่ ให้เกิดสุข

สุขา สทฺธา ปติฏฺิตา (๒๕/๓๓)

ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้

สุขิโน วตารหนฺโต (๑๗/๑๕๓)

ท่านผู้ไกลกิเลส ช่างมีแต่ความสุข

สุโข ปฺาย ปฏิลาโภ (๒๕/๓๓)

การได้ปัญญา นำมาซึ่งความสุข

สุโข ปุฺสฺส อุจฺจโย (๒๕/๑๙)

การสร้างสมความดี นำสุขมาให้

สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท (๒๕/๒๔)

ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้

สุนกฺขตฺตํ สุมงฺคลํ สุปภาตํ สุหุฏฺิตํ (๒๐/๕๙๕)

ประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี เช้าดี รุ่งอรุณดี

สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ (๒๕/๖)

พูดดี เป็นมงคลอันอุดม

เสยฺโย อมิตฺโต เมธาวี ยฺเจ พาลานุกมฺปโก (๒๗/๔๕)

มีศัตรูเป็นบัณฑิต ดีกว่ามีมิตรเป็นพาล

ยาทิสฺจูปเสวติ โสปิ ตาทิสโก โหติ (๒๗/๒๑๕๒)

คบคนเช่นใด ก็เป็นเช่นคนนั้น

หิโต พหุนฺนํ ปฏิปชฺชโภเค (๑๕/๑๓๘)

คนดีจัดการโภคทรัพย์ให้เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมาก

 

 

 

 

เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง