เมื่อธรรมดามาถึง รู้ให้ทัน และทำให้ถูก

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P. A. Payutto)

อมฤตพจนา1

ชีวิต-ความตาย

 

วโย รตฺตินฺทิวกฺขโย
วัยสิ้นไปตามคืนและวัน

(๑๕/๑๗๓)

ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ
วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป
จากประโยชน์ที่จะทำ

(๒๖/๓๕๙)

รตฺโย อโมฆา คจฺฉนฺติ
วันคืน ไม่ผ่านไปเปล่า

(๒๘/๔๓๙)

อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
วโยคุณา อนุปพฺพํ ชหนฺติ
กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป
วัยก็หมดไปทีละตอนๆ ตามลำดับ

(๑๕/๓๐๐)

รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ
รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป
แต่ชื่อและโคตรไม่เสื่อมสลาย

(๑๕/๒๑๐)

ทหราปิ จ เย วุฑฺฒา เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา
อฑฺฒา เจว ทลิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน
ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด

(๑๐/๑๐๘)

น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ
เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดก็ติดตามไปไม่ได้

(๑๓/๔๕๑)

กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลเวลาย่อมกลืนกินสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง

(๒๗/๓๔๐)

ตํ ตญฺเจ อนุโสเจยฺย ยํ ยํ ตสฺส น วิชฺชติ
อตฺตานมนุโสเจยฺย สทา มจฺจุวสํ ปตฺตํ
ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงคนที่ไม่มีอยู่แก่ตน คือ ผู้ที่ตายไปแล้วไซร้
ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา

(๒๗/๖๑๑)

น เหว ติฏฺํ นาสีนํ น สยานํ น ปตฺถคุํ
อายุสังขาร ใช่จะประมาทไปตามสัตว์ ผู้ยืน นั่ง นอน หรือเดินอยู่ก็หาไม่

(๒๗/๖๑๒)

ยาวุปฺปตฺติ นิมิสฺสติ ตตฺราปิ สรตี วโย
วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไป ทุกหลับตา ทุกลืมตา

(๒๗/๖๑๒)

ตตฺถตฺตนิ วตปฺปนฺเถ วินาภาเว อสํสเย
ภูตํ เสสํ ทยิตพฺพํ จวิตํ อนนุโสจิยํ
เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกันก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย
หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ควรเมตตาเอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้ว

(๒๗/๖๑๓)

ยถาปิ ทารโก จนฺทํ คจฺฉนฺตํ อนุโรทติ
เอวํ สมฺปทเมเวตํ โย เปตมนุโสจตติ
ทยฺหมาโน น ชานาติ าตีนํ ปริเทวิตํ
ตสฺมา เอตํ น โสจามิ คโต โส ตสฺส ยา คติ
ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องไห้ขอพระจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ
คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา

(๒๗/๗๒๐)

ผลานมิว ปกฺกานํ นิจฺจํ ปตนโต ภยํ
เอวํ ชาตาน มจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํ
ผลไม้สุกแล้ว ก็หวั่นแต่จะต้องร่วงหล่นไป ตลอดเวลา ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น

(๒๗/๑๕๖๘)

สายเมเก น ทิสฺสนฺติ ปาโต ทิฏฺา พหู ชนา
ปาโต เอเก น ทิสฺสนฺติ สายํ ทิฏฺา พหู ชนา
ตอนเช้า ยังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเย็น บางคนก็ไม่เห็น
เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็น

(๒๗/๑๕๖๙)

เอโกว มจฺโจ อจฺเจติ เอโกว ชายเต กุเล
สํโยคปรมาเตฺวว สมฺโภคา สพฺพปาณินํ
จะตายจากก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว
ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง

(๒๗/๑๕๗๓)

น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ปิตา นปิ พนฺธวา
อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ าตีสุ ตาณตา
เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี

(๒๕/๓๐)

อญฺเปิ ปสฺส คมิเน ยถากมฺมูปกเค นเร
มจฺจุโน วสมาคมฺม ผนฺทนฺเตวิธ ปาณิโน
ดูสิ! ถึงคนอื่นๆ ก็กำลังเตรียมตัวเดินทางไปตามยถากรรม
ที่นี่ สัตว์ทั้งหลายเผชิญกับอำนาจของพญามัจจุราชเข้าแล้ว กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น

(๒๕/๓๘๐)

สุปิเนน ยถาปิ สงฺคตํ ปฏิพุทฺโธ ปุริโส น ปสฺสติ
เอวมฺปิ ปิยายิกํ ชนํ เปตํ กาลกตํ น ปสฺสติ
คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีก เหมือนคนตื่นขึ้นไม่เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน

(๒๕/๔๑๓)

ยสฺส รตฺยา วิวสาเน อายุ อปฺปตรํ สิยา
วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุเหลือน้อยเข้าทุกที

(๒๘/๔๓๗)

มจฺจุนาพฺภหโต โลโก ชราย ปริวาริโต
สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น ถูกชราปิดล้อม

(๒๘/๔๓๗)

ยถา วาริวโห ปูโร คจฺฉํ น ปริวตฺตติ
เอวมายุ มนุสฺสานํ คจฺฉํ น ปริวตฺตติ
แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลายย่อมไม่เวียนกลับมา สู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น

(๒๘/๔๓๙)

ตสฺมา อิธ ชีวิตเสเส กิจฺจกโร สิยา นโร น จ มชฺเช
เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท

(๒๕/๓๘๗)

ปาปญฺจ เม นตฺถิ กุหิญฺจิ ตสฺมา น สงฺเก มรณาคมาย
ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทำไว้ ณ ที่ไหนๆ เลย ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง

(๒๘/๑๐๐๐)

1จากหนังสือ อมฤตพจนา ของพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
มูลนิธิพุทธธรรม จัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๒๐๑-๒๑๓
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.