ธรรมบรรยาย

ลำดับที่ ๓ ชุด ธรรมไม่ทิ้งโลก ๒๕๔๙

เศรษฐศาสตร์-เศรษฐกิจ เตลิดออกนอกทิศทางไปหรือเปล่า

ความยาว ๐:๒๗:๕๕ ชั่วโมง

ภาษาไทย
อยู่ในชุดธรรมไม่ทิ้งโลก ๒๕๔๙
ข้อมูลเบื้องต้น

[00:53] เศรษฐกิจแนวพุทธ ระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ก่อเกิดความพอดี

[01:44] … ว่าด้วยหลักการ เราก็ต้องยอมรับความจริง มองถึงระบบเหตุปัจจัย … ในระบบทุนนิยมก็เป็นเรื่องการแข่งขัน … การแข่งขันนั้นไม่ใช่ไม่มีแง่ดี … ลัทธิแข่งขันก็มีประโยชน์ มาเป็นตัวเร่งให้คนเพียรพยายาม … มันทำให้คนไม่ประมาท แต่มันไม่ใช่ความไม่ประมาทที่แท้

[07:55] … ทำอย่างไรเราจะมีระบบเศรษฐกิจ ที่ทำให้มนุษย์ ไม่ต้องใช้วิธีการทางสังคมที่แข่งขัน … ไม่ต้องอาศัยสิ่งภายนอกมาบีบคั้น แต่ให้ไม่ประมาทด้วยสติปัญญาของตนเอง …

[14:30] เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจของพุทธศาสนา หรือแนวพุทธ ก็จะเป็นเศรษฐกิจแบบไม่มีการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นเศรษฐกิจแบบเป็นปัจจัย เป็นเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญญา … มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับชีวิต … การพัฒนาชีวิต

[16:35] เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ สร้างสรรค์ชีวิตและสังคม โดยไม่ต้องใช้ระบบแข่งขัน

[22:10] … ปัจจุบันเราต้องพูดให้ชัดว่า … การแข่งขันเชิงธุรกิจ มันไม่ใช่แข่งขันที่แท้ … เรื่องของการแข่งขัน เราก็ต้องรู้ทัน … ท่านเรียกว่า “ให้รู้ทั้งคุณทั้งโทษและทางออก” …

[24:27] เศรษฐศาสตร์แนวพุทธนี้ … ไม่จำเป็นต้องไปอยู่ที่การแข่งขันกับผู้อื่น แข่งขันกับตัวเองในการสร้างสรรค์ประโยชน์สุข … ด้วยศรัทธา ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น มีฉันทะ

[27:08] … ฉันทะเป็นฐานของความสุขมากมายหลายมิติ … และจะนำไปสู่ความสุขที่เป็นอิสระด้วย

เรื่องที่ควรฟังก่อนอย่ามัวรอ หรือขอพระโพธิสัตว์ทำให้ แต่ต้องทำให้ได้ อย่างพระโพธิสัตว์
เรื่องที่ต่อเนื่องถ้าเข็นครกขึ้นเขายังสู้ ก็พอจะฟื้นฟูพุทธศาสนาเมืองไทยได้ (ตอนที่ ๑)
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง