ธรรมบรรยาย

ลำดับที่ ๙ ชุด ธรรมะสู่การเมือง

นิติศาสตร์แนวพุทธ ช่วงที่ ๓

ความยาว ๐:๕๔:๓๓ ชั่วโมง

ภาษาไทย
อยู่ในชุดธรรมะสู่การเมือง
ข้อมูลเบื้องต้น[00:51] นิติศาสตร์แนวพุทธ
[06:14] มนุษย์มองกฎหมายเป็นอะไร: เป็นเครื่องบังคับ เป็นข้อฝึกตน หรือเป็นสิ่งหมายรู้
[10:57] เข้าถึงสมมติด้วยปัญญา สร้างสรรค์อารยธรรม เจริญงอกงาม
[21:35] กฎมนุษย์ต้องไม่แปลกแยกจากกฎธรรมชาติ
[27:35] ผู้บัญญัติกฎหมายที่จริงแท้ รู้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ที่แท้จริง
[32:53] กฎหมายแท้มีหลักอยู่ในใจที่ต้องรักความเป็นธรรม
[35:28] สร้างกฎหมายเอื้อสร้างคน เป็นเครื่องมือฝึกตน สู่ชีวิตที่ดีงาม
[39:49] ความจริงในกฎธรรมชาติ เป็นฐานสร้างกฎสังคม
[45:54] ในพุทธศาสนา การปกครองคือเรื่องของการศึกษา โดยการศึกษา และเพื่อการศึกษา

----------------------------------

[05:21] แง่ของนิติศาสตร์แนวพุทธอันหนึ่งคือ ผู้พิพากษาคิดว่าต้องทำใจแบบนี้ อย่าไปนึกว่าเราเป็นผู้ลงโทษ ถ้าคิดอย่างนี้ผิดแน่นอน เป็นเพียงกระบอกเสียงให้แก่ตัวหลักการเท่านั้น ...ฉะนั้นคนที่ดำเนินการอย่างนี้ถือว่า ดำเนินการตามธรรมะ เป็นสื่อให้แก่ตัวธรรมะ เป็นกระบอกเสียงแก่ตัวธรรมะ...

[10:19] ถ้ามนุษย์พัฒนาถึงขั้นนี้ได้ มีความรู้สึกต่อกฎหมายอย่างนี้ได้ ก็เป็นมนุษย์ที่พัฒนาแล้ว ... เขาจะมองกฎหมายว่าเป็นสิ่งหมายรู้ร่วมกัน นี่คือ “สมมติ” ความหมายของสมมติที่แท้จริง

[34:29] ...กฎหมายแท้มีหลักอยู่ในใจ ที่ต้องรักความเป็นธรรม รักตัวธรรมะ และก็รักประโยชน์สุขของสังคม ...คือ ต้องมีทั้งตัวเจตนา เจตจำนง มีเมตตา มีความใฝ่ปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ ปรารถนาดีต่อมนุษยชาติ ต่อสังคม แล้วก็มีความรู้ มีปัญญาที่เข้าถึงความจริง จนกระทั่งว่า ถือธรรมเป็นใหญ่ เมื่อใดนักกฎหมายถือธรรมเป็นใหญ่ ท่านเรียกว่า เป็น “ธรรมาธิปไตย”

[48:29] ...ในพุทธศาสนา การปกครองคือ เรื่องของการศึกษา โดยการศึกษา และเพื่อการศึกษา ...ในนิติศาสตร์แนวพุทธ กฎหมายจะต้องมีแนวโน้มในการที่จะสร้างระบบสังคม สภาพแวดล้อม ระบบความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ในทางที่จะเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ให้มนุษย์เข้าถึงจุดหมายของชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นไป
เรื่องที่ควรฟังก่อนนิติศาสตร์แนวพุทธ ช่วงที่ ๒
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง