คนไทยกับป่า

...อารยธรรมตะวันตกมาจากรากฐานทางความคิด  ที่มองมนุษย์แยกต่างห่างจากธรรมชาติ  แล้วไม่ใช่มองมนุษย์แยกต่างห่างจากธรรมชาติเท่านั้น  ยังมองในลักษณะ  ที่มนุษย์จะต้องเข้าไปครอบครอง  เป็นนายเหนือธรรมชาติ  เป็นผู้พิชิตธรรมชาติ  ซึ่งก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะได้ไปจัดสรรธรรมชาติ  จัดการปั้นแต่งมาเป็นสิ่งบริโภคเพื่อรับใช้สนองความต้องการของมนุษย์...

...เมื่อกล่าวถึงหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาเองแท้ๆ  เรื่องระบบของการพึ่งพาอาศัยกันนี้  ท่านย้ำมาก  แต่นอกจากการพึ่งพาอาศัยกันแล้ว  สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ  ความรู้สึกที่ดีงามต่อกันระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์  และมนุษย์ต่อพืชและสัตว์ทั้งหลาย  ความรู้สึกที่เรียกว่าความ "กตัญญู"  ความกตัญญูนี้ไม่ใช่มีเฉพาะต่อมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น  แต่ท่านให้มีแม้ต่อสัตว์และพืชทั้งหลายด้วย...

...ในพระไตรปิฎก  สอนให้รู้คุณแม้แต่ของพืช  มีใจความแปลเป็นไทยว่า  "บุคคลนั่งหรือนอนในร่มเงาของต้นไม้ใด  ไม่พึงหักรานกิ่งใบของต้นไม้นั้น  ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนทราม"...

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ คณาจารย์ และนิสิต ผู้ฝึกปฏิบัติงานภาคฤดูร้อน ณ สถานพำนักสงฆ์สายใจธรรม เขาำสำโรงดงยาง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๓๖
ข้อมูลพัฒนาการ- พิมพ์ครั้งที่ ๑ คณะกรรมการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ดร.สุรีย์ ภูมิภมร จัดให้มีการคัดลอกธรรมกถาจากแถบบันทึกเสียง พ.ศ. ๒๕๓๗
- พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ (อินศร จินฺตาปญฺโญ) จัดทำรูปเล่ม พ.ศ.๒๕๓๗
พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม ๒๕๓๗
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ISBN974-7890-09-7, 974-268-8702, 974-01-2307-4, 974-80
เลขหมู่BQ4570.S7
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง