สามัคคีเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงย้ำว่า ความสามัคคีของหมู่ให้เกิดสุข ซึ่งเราส่วนมากเคยได้ยินได้ฟัง หลายท่านจำบาลีพุทธภาษิตได้ว่า "สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี"
การที่หมู่ชนอย่างพระสงฆ์จะมีความสามัคคีได้ ก็ต้องมีหลักความประพฤติรองรับ
หลักความประพฤติพื้นฐานก็คือ วินัย ได้แก่ การจัดสรรระเบียบความเป็นอยู่ ระบบความสัมพันธ์กันในสังคม
วินัยเป็นฐานล่างในการทำให้เกิดความสามัคคี คนในสังคมประเทศชาติต้องมีวินัย เมื่อมีความประพฤติไปกันได้โดยอยู่ในระเบียบวินัยแล้ว ความสามัคคีก็เกิดขึ้นได้
ต่อจากนั้นก็เป็นขั้นของธรรม คือ คุณความดีในจิตใจ เช่น ความรัก เมตตา ความมีไมตรี ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลช่วยเหลือกัน
ดังจะเห็นได้ในพระพุทธศาสนานี้เองว่า เบื้องต้นพระพุทธเจ้าทรงตั้งสังฆะ คือหมู่สงฆ์เมื่อพระมาอยู่ร่วมกัน พระองค์ก็ทรงจัดการให้มีความสามัคคี เพราะถ้าไม่มีสามัคคี สงฆ์ที่อยู่ร่วมกัน ก็แตกกระจัดกระจาย อยู่ร่วมกันไม่ได้
ภาษา | ไทย |
---|---|
เปลี่ยนชื่อจาก |
ปัญหาขัดแย้งในโลกแก้ได้ด้วยกฐิน |
ข้อมูลพัฒนาการ | - ชื่่อเดิม : ปัญหาขัดแย้งในโลก แก้ได้ด้วยกฐิน ปี ๒๕๔๔ เผยแพร่ทางเสียงในชื่อว่า "โลกถึงกันกว้างไกล แต่ใจคนกลับแคบลง" (ก่อนพิมพ์เป็นเล่ม) พิมพ์ครั้งที่ ๑ (ขนาดจิ๋ว - กลุ่มขันธ์ ๕, ๑๖ น. ยกพิเศษ - ธรรมปฏิสันธาร ในพิธีถวายผ้าพระกฐินระราชทาน ๔ พ.ย. ๒๕๔๔) - ชื่อใหม่ : กฐินมา บอกทางแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี (ปี ๒๕๖๐, จัดปรับ-เพิ่มเติม และเปลี่ยนใช้ชื่อใหม่ พิมพ์ครั้งที่ ๓๖ (ครั้งแรกในชื่อใหม่) ๘ ต.ค. ๒๕๖๐ ในโอกาสร่วมอนุโมทนา กฐินรับอายุ ๗ รอบ คุณประพัฒน์ แพทย์หญิงกาญจนา เกษสอาด โดยกานดา อารยางกูร และ บุบผา คณิตกุล และทุนพิมพ์หนังสือวัดญาณเวศกวัน |
---|---|
พิมพ์ครั้งแรก | ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ |
พิมพ์ล่าสุด | ครั้งที่ ๓๙ ตุลาคม ๒๕๖๕ |
ISBN | 978-616-7585-20-8 |
เลขหมู่ | ยังไม่มีข้อมูล |