สยามสามไตร

...ในสังคมชาวพุทธเรานั้น เรื่องนี้เป็นปัญหามาก คือว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนหลักธรรมไว้มากมาย และบางทีเราก็เรียนกันเยอะแยะไปหมด แต่ในชีวิตที่เป็นจริงนี้ ไม่รู้จะจับอันไหนมาทำมาใช้ ไปๆ มาๆ ชาวพุทธก็เลยไม่มีจุดร่วม โดยเฉพาะไม่มีหลักการอะไรที่ยึดถือร่วมกัน...

...เพราะการศึกษาเป็นแกนที่จะทำให้ประเทศชาติ เป็นอย่างไร เป็นตัวสร้างฐานให้กับประเทศชาติ ในเรื่องนี้ อยากจะให้มีหลักที่กะทัดรัดชัดเจน และหลักนั้นจะมี ๒ หมวด คือ หลักความเชื่อแล้วก็หลักปฏิบัติ หรือหลักที่เป็นข้อปฏิบัติ ให้รู้กันว่า ถ้าเป็นชาวพุทธแล้วจะต้องมีการกระทำอันนี้ชัดออกมาเลย... 

ข้อมูลพัฒนาการ

หนังสือ "สยามสามไตร" ประกอบด้วยเนื้อหาสาระสำคัญ ๒ ภาค สอดคล้องกับวาระที่เกิดขึ้นของธรรมกถา ตามลำดับดังนี้

  • ภาค ๑ ว่าด้วยความหมาย "สยามสามไตร" เริ่มด้วยความหมายสั้นๆ ของ "สยาม" ที่โยงเข้าสู่สามไตร จากนั้นเป็นการอธิบายหลักธรรมใหญ่ คือ ไตรทั้งสาม อันได้แก่ ไตรรัตน์ (พระรัตนตรัย) ไตรลักษณ์ และไตรสิกขา ตามลำดับ
  • ภาค ๒ ว่าด้วยหลักการนำหลักการศึกษาออกสู่ปฏิบัติการ ในการทำงานจริง อันเป็นการสอดคล้องกับเหตุการณ์ทางสังคม ที่ปรากฎนามสยามสามไตร บนฐานปัญญาที่แน่นหนา ซึ่งมีความรู้เข้าใจหลักธรรมเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ และมีแนวคิดที่ถูกต้อง ก็จะทำงาน การศึกษาไปได้ถูกทาง อย่างมั่นใจ และได้ผลที่จะให้บรรลุจุดหมายที่ ดีทั้งต่อชีวิต ต่อสังคม และต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนธรรมชาติทั้งหมดอย่างแท้จริง
พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม ๒๕๕๒
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๙
ISBN974-94143-8-1
เลขหมู่รอวิเคราะห์หมวดหมู่

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

พบหนังสือธรรมะ 1 เรื่อง
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง