...เรื่องการวิพากษ์วิจารณ์นี้ พระพุทธศาสนาของเราเปิดกว้างอยู่แล้ว เรียกว่าชาวพุทธน่ะใจกว้าง...ใจกว้างนี้คนละอย่างกับไม่เอาเรื่อง ถ้าไม่เอาเรื่องราว ปล่อยปละละเลย ก็กลายเป็นประมาท พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้แล้วว่า เมื่อมีการเห็นผิดเข้าใจผิดมีการกล่าววาทะที่ทำให้เข้าใจผิดพลาด ก็ต้องชี้แจงให้รู้เข้าใจตามเป็นจริง...
...ข้อมูลนั้นเป็นฐานสำคัญ ข้อมูลจะต้องถูกต้องแม่นยำชัดเจนเพียงพอ ถ้าข้อมูลพลาดเสียแล้ว การวิเคราะห์ วิจารณ์ ตีความ สันนิษฐานก็ผิดหมด เหลวเลยไม่ได้ความหมาย... เหมือนอย่างว่าเขาพูดเรื่องแมว แล้วตัวเองจับเอาเป็นเรื่องเสือ... หรือเขาพูดเรื่องมะนาวตัวเองไปฟังเป็นมะพร้าว แล้วจะเอาไปวิเคราะห์วิจารณ์สันนิษฐานอย่างไรมันก็ไปคนละเรื่อง...
... บทความของเมตตานั้น เป็นกรณีตัวอย่างที่มีความผิดพลาดเพียงแค่ในขั้นหลักฐานข้อมูลง่ายๆ พื้นๆ ได้ถูกยกชูให้ดูเหมือนเป็นเรื่องมีเนื้อหาสาระ โดยอาศัยความตื่นป้ายวิชาการ ซึ่งเป็นการอำพรางที่ทำให้เรื่องซึ่งไม่เป็นปัญหากลายเป็นปัญหาต่อพระพุทธศาสนา และก่อความสับสนโดยใช่เหตุ...
ภาษา | ไทย |
---|---|
ที่มา | จาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ ชาวธรรมะร่วมสมัย ณ วัดญาณเวศกวัน เมื่อ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๓ |
ข้อมูลพัฒนาการ | "กรณีเงื่อนงำ : พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยโรคอะไร?" มีเนื้อหา ๒ ส่วน ดังนี้
|
---|---|
พิมพ์ครั้งแรก | ตุลาคม ๒๕๔๓ |
พิมพ์ล่าสุด | ครั้งที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๓ |
ISBN | 974-344-070-4 |
เลขหมู่ | BQ888 |