ธรรมกับการศึกษาของไทย

...ค่านิยมเป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นสิ่งที่มีผลต่อพฤติกรรม เป็นตัวกำหนดบรรดาพฤติกรรมของคน แล้วก็จะมีผลเป็นการบันดาลชะตากรรมของสังคมได้ด้วย ฉะนั้น ค่านิยมจึงเป็นเรื่องที่จะต้องเอาใจใส่มาก และในเมื่อมีผลต่อชีวิตของคนและต่อสังคม ก็เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ... การที่เราจะปล่อยให้ค่านิยมมากำหนดวิถีชีวิตของคน กำหนดพฤติกรรมของคนในสังคม โดยปล่อยให้เป็นไปตามเรื่องตามราว โดยไม่มีการควบคุมดูแลนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ถ้าการศึกษาปล่อยในสิ่งเหล่านี้ การศึกษาก็ได้ชื่อว่าไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเองให้ครบถ้วน การที่จะทำหน้าที่ของการศึกษาให้ถูกต้องก็คือ การเป็นฝ่ายกำหนดควบคุมค่านิยม หมายความว่า การศึกษาจะต้องเอาใจใส่ในเรื่องค่านิยมนี้ และเป็นผู้ควบคุมวางแผน พยายามที่จะผันแปร หันเห นำทางค่านิยมของสังคมให้เป็นไปในทางที่ดีมีประโยชน์ และเอื้อต่อกันกับการศึกษา...

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ นายกสภามหาวิทยาลัย, ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ณ อยุธยา องคมนตรี, ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา, คณาจารย์ และผู้เข้าร่วมประชุม ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๐
ข้อมูลพัฒนาการ
  • การพิมพ์ครั้งแรก (ตุลาคม ๒๕๓๑) จัดพิมพ์โดย โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการพิมพ์ครั้งที่ ๒ (พฤษภาคม ๒๕๓๒) จัดพิมพ์โดย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูศรีวิเทศธรรมคุณ ยังคงส่วนที่เป็นเรื่องเฉพาะกรณีไว้
  • การพิมพ์ครั้งแรก (ธันวาคม ๒๕๓๘) มีการปรับปรุง ตัดส่วนที่เป็นเรื่องเฉพาะกรณีออก จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธธรรม
พิมพ์ครั้งแรกตุลาคม ๒๕๓๑
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๖ ๒๕๓๙
ISBN974-7890-42-9
เลขหมู่BQ4570.E3
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง