ไตรภูมิพระร่วง: อิทธิพลต่อสังคมไทย

...ความจริงที่แน่นอนอย่างแรกก็คือ หลักกรรม และหลักไตรลักษณ์โดยเฉพาะเรื่องความไม่เที่ยง เป็นแกนความคิดที่ซึมแทรกอยู่ทั่วตลอดในคำสอนทั้งหมด ของหนังสือไตรภูมิพระร่วง และเป็นความจริงที่แน่นอนเช่นเดียวกันว่า หลักกรรมและหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้น เป็นหลักธรรมสำคัญระดับแกน ที่สอดประสานหลักคำสอนอื่นๆ แทบทุกอย่างในพุทธศาสนา ซึ่งจะพบได้เกือบทั่วทุกแห่งในคัมภีร์ที่แสดงหลักธรรม หลักกรรมท่านสอนเพื่อมุ่งให้คนดำเนินชีวิตอยู่อย่างที่สุดในไตรภูมิ ส่วนหลักไตรลักษณ์ท่านสอนเพื่อช่วยให้คนหลุดพ้นไปได้จากไตรภูมิ หรือพูดให้ถูกแท้ว่เพื่อช่วยให้พ้นจากกรรม แล้วจะได้พ้นจากไตรภูมิ กรรมเป็นเรื่องระดับโลกียะ ส่วนความรู้ในไตรลักษณ์เป็นเครื่องนำสู่โลกุตระ กรรมเป็นเรื่องของการกระทำ ความประพฤติ หรือการดำเนินชีิวิต ไตรลักษณ์เป็นเรื่องของปัญญาความรู้ ความเข้าใจที่จะช่วยให้คนดำเนินพฤติกรรมที่ดีงามจนถึงขั้นที่กรรมไม่เป็นกรรมอีกต่อไป...

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมเทศนา แก่ คณะทำงานโครงการรวบรวมวรรณกรรมอาเซียนของไทย ณ ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ บริเวณหอสมุดแห่งชาติ เมื่อ ๑ มีนาคม ๒๕๒๖
เปลี่ยนไปสู่ พัฒนาสังคมไทย ด้วยความรู้เข้าใจไตรภูมิฯ
ข้อมูลพัฒนาการ
"ไตรภูมิพระร่วง : อิทธิพลต่อสังคมไทย" เดิมมีชื่อเต็มว่า "อิทธิพลไตรภูมิพระร่วงต่อศีลธรรมของสังคมไทย" เป็นคำบรรยายในการสัมมนาเรื่อง "ไตรภูมิพระร่วง" ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ บริเวณหอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันอังคารที่ ๑ มีนาคม ๒๕๒๖ ตามคำอาราธนาของ คณะทำงานโครงการรวบรวมวรรณกรรมอาเซียนของไทย  ต่อมาในการพิมพ์ครั้งที่ ๘ (ตุลาคม ๒๕๕๓ (ครั้งแรกในชื่อใหม่)) ได้มีการเปลี่ยนชื่อ เป็น "พัฒนาสังคมไทย ด้วยความรู้เข้าใจไตรภูมิฯ" (รหัส 562) และมีการจัดปรับเพิ่มเนื้อหาเล็กน้อย เช่น หน้าสุดท้าย และมีการจัดย่อหน้า ตัวหนา เพิ่มเติม (นับสถิติต่อจากเล่มเดิม)
พิมพ์ครั้งแรกตุลาคม ๒๕๒๖
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๓
ISBN974-7232-01-4
เลขหมู่BQ1029.T5

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

พบหนังสือธรรมะ 2 เรื่อง
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง