เจาะหาความจริงเรื่องศาสนาประจำชาติ

...เราพูดว่า  พุทธศาสนานี้คนไทยส่วนใหญ่นับถือ  เป็นศาสนาของคนไทย  หรือเป็นศาสนาประจำชาติ  แต่หลายคนจะแย้งว่า  คนไทยนับถือพุทธศาสนา  แต่ทำไมประเทศไทยจึงเป็นอย่างนี้  คือเต็มไปด้วยปัญหา...

...หลายคนจะมาติเตียนพระพุทธศาสนา  คล้ายๆจะให้พุทธศาสนารับผิดชอบ  เป็นทำนองว่า  เพราะนับถือพุทธศาสนาคนไทยจึงแย่  คนไทยจึงตกต่ำ  ถ้าแค่นับถือกันธรรมดายังแย่อย่างนี้  ยิ่งไปบัญญัติเป็นศาสนาประจำชาติเข้าด้วย  จะมิยิ่งแย่ใหญ่หรือ...

...เพราะฉะนั้น  ตอนนี้จึงมีปัญหาว่า  ในท่ามกลางความพร่ามัวของสังคมไทย  ที่คนไทยกระจัดกระจายสับสน  ไม่มีอะไรชัดเจน  ไม่มีจุดรวมใจ  ไม่มีเป้าหมายสูงสุด  อย่างที่เป็นอยู่นี้  เราจะเอาอย่างไร...

...อนึ่ง สิ่งที่เราจะเอามาเป็นอุดมธรรมนำจิตสำนึกของสังคม  หรือเป็นอุดมการณ์ของชาตินี้  จะต้องมีลักษณะดีที่จำเป็นประกอบด้วย  อย่างน้อยอุดมการณ์นั้นจะต้องมีลักษณะที่เอื้อเฟื้อ  ไม่บีบคั้นกลุ่มชนอื่นผู้มีลัทธิศาสนาที่นับถือต่างออกไป  สิ่งสำคัญที่พึงย้ำคือ  นอกจากจะไม่เบียดเบียน  ไม่บีบคั้นแล้ว  ยังเกื้อกูลด้วย...

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมเทศนา แก่ ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเรื่อง "จิตสำนึกของชาวพุทธเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา" ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ เมื่อ ๑ กันยายน ๒๕๓๗
เปลี่ยนชื่อจาก อุดมธรรมนำจิตสำนึกของสังคมไทย
ข้อมูลพัฒนาการ
  • "เจาะหาความจริงเรื่อง ศาสนาประจำชาติ" เป็นคำบรรยายพิเศษ ของพระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต) ในการประชุมสัมมนาเรื่อง "จิตสำนึกของชาวพุทธเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ" จัดโดย สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๗ ชื่อเรื่องเดิมตามอาราธนาว่า "พุทธศ่าสนา ในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติไทย" แต่ในการพิมพ์เผยแพร่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อุดมธรรมนำจิตสำนึกของคนไทย"
  • พิมพ์ครั้งที่ ๑-๔ (ตุลาคม ๒๕๓๗) ในชื่อ "อุดมธรรมนำจิตสำนึกของสังคมไทย"
  • พิมพ์ครั้งที่ ๑ (พฤษภาคม ๒๕๕๐) มีการ ตัด-เพิ่มเติม ตั้งชื่อใหม่ "เจาะหาความจริง เรื่องศาสนาประจำชาติ"
พิมพ์ครั้งแรกพฤษภาคม ๒๕๕๐
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๐
ISBN978-974-7628-83-8, 978-974-8072-56-2
เลขหมู่BQ552

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

พบหนังสือธรรมะ 2 เรื่อง
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง