คนไทยกับป่า
...อารยธรรมตะวันตกมาจากรากฐานทางความคิด ที่มองมนุษย์แยกต่างห่างจากธรรมชาติ แล้วไม่ใช่มองมนุษย์แยกต่างห่างจากธรรมชาติเท่านั้น ยังมองในลักษณะ ที่มนุษย์จะต้องเข้าไปครอบครอง เป็นนายเหนือธรรมชาติ เป็นผู้พิชิตธรรมชาติ ซึ่งก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะได้ไปจัดสรรธรรมชาติ จัดการปั้นแต่งมาเป็นสิ่งบริโภคเพื่อรับใช้สนองความต้องการของมนุษย์...
...เมื่อกล่าวถึงหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาเองแท้ๆ เรื่องระบบของการพึ่งพาอาศัยกันนี้ ท่านย้ำมาก แต่นอกจากการพึ่งพาอาศัยกันแล้ว สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ความรู้สึกที่ดีงามต่อกันระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ และมนุษย์ต่อพืชและสัตว์ทั้งหลาย ความรู้สึกที่เรียกว่าความ "กตัญญู" ความกตัญญูนี้ไม่ใช่มีเฉพาะต่อมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น แต่ท่านให้มีแม้ต่อสัตว์และพืชทั้งหลายด้วย...
...ในพระไตรปิฎก สอนให้รู้คุณแม้แต่ของพืช มีใจความแปลเป็นไทยว่า "บุคคลนั่งหรือนอนในร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งใบของต้นไม้นั้น ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนทราม"...
ที่มา | จาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ คณาจารย์ และนิสิต ผู้ฝึกปฏิบัติงานภาคฤดูร้อน ณ สถานพำนักสงฆ์สายใจธรรม เขาำสำโรงดงยาง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา |
---|