ทันโลก ถึงธรรม

ปฏิบัติธรรมง่ายๆ ได้การพัฒนาที่ยั่งยืน
...ต้องไม่มองข้ามการปฏิบัติธรรมเพื่อประโยชน์ขั้นทิฏฐชัมม์นี้
ที่เป็นเรื่องเพื่อส่วนรวม หรือของกลาง...ตามพระคาถาที่ว่า..
อารามไรปา วนโรปา ฯปฯ เต ชนา สคฺคคามีใน.
แปลว่า: ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน...
จัดบริการน้ำดื่ม ขุดบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชน
เหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน...
ปฏิบัติธรรม ครบระบบ จบกระบวน คือ ศึกษา ๓ ภาวนา ๔
การศึกษา หรือสิกขานั้น มี ๓ ด้าน เรียกว่า ไตรสิกขา พูดง่ายๆ ว่า
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งครอบคลุมการปฏิบัติธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น และ
ทำให้เกิดการพัฒนา ที่เรียกว่า ภาวนา ๔ แดน
๑. กายภาวนา พัฒนากาย...อยู่อย่างสร้างสรรค์เกื้อกูลในโลกของวัตถุและธรรมชาติ
๒. ศีลภาวนา พัฒนาศีล...อยู่อย่างสร้างสรรค์เกื้อกูลในโลกมนุษย์คือสังคม...
๓. จิตตภาวนา พัฒนาจิต...มีจิตใจที่เจริญงอกงามในคุณธรรม มีสมาธิ...
๔.ปัญญาภาวนา พัฒนาปัญญา...ใช้ปัญญา...แก้ไขปัญหาดับทุกข์ภัยได้...
ปฏิบัติธรรมครบทั้งระบบ จบถึงจุดหมายของชีวิต
การปฏิบัติธรรมที่ครบหลัก ตรงเรื่อง ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมอย่าง
ผู้ไม่ประมาท เป็นบัณฑิต มีพุทธพจน์บอกไว้ว่า...
อปฺปมตฺโต อุโภ ยตฺเถ ฯเปฯ ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.
แปลว่า ผู้ไม่ประมาท เป็นบัณฑิต ย่อมจับเอาประโยชน์ไว้
ได้ครบทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ในทิฏฐธัมม์ (....ที่ตาเห็น) และ
ประโยชน์ในสัมปราย์ (..เลยตาเห็น), เพราะลุถึงประโยชน์ที่
เป็นจุดหมาย จึงเรียกธีรชนว่าเป็น "บัณฑิต"
ประโยชน์ขั้นสัมปราย์...ในระดับสูง...เรียกชื่อแยกให้ชัดว่า ปรมัตถ์
...เป็นจุดหมายสูงสุด ได้แก่ วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ สุข เกษม นิพพาน

ที่มาจาก การประพันธ์