ชาวพุทธกับชะตากรรมของสังคม

"...พุทธศาสนายังมีส่วนมาก ในการที่จะบันดาลให้เกิดทั้งความเจริญและความเสื่อม ถ้าเขาเข้าใจถูกปฏิบัติถูก ก็จะทำให้เกิดความเจริญได้ ถ้าเขาเข้าใจพุทธศาสนาผิด เขาอาจจะทำให้เหมือนกับว่าพุทธศาสนาทำให้สังคมเสื่อม ถ้าหากชนชั้นนำของเรารู้เรื่องพูทธศาสนาดีก็อาจจะไปแก้ไขข้อนี้ได้ ที่ว่านี้รวมถึงความรู้เกี่ยวกับสถาบันด้วย ถ้าหากเราเข้าใจเรื่องวัดเรื่องพระดีแล้ว เราจะปฏิบัติต่อสังคมต่อชุมชน และต่อชาวบ้านแต่ละคนได้ดีขึ้น..."

"...อาจจะพูดให้แรงได้ว่า ในขณะนี้สังคมชาวพุทธของเราแตกสลาย แตกเป็นเสี่ยงๆ ในชุมชนเมืองสังคมชาวพุทธ พระสงฆ์กับชาวคฤหัสถ์สัมพันธ์กันน้อยเหลือเกิน และสถาพนี้กำลังแผ่ขยายไปในชนบท พระในชนบทเป็นผู้นำชาวบ้าน แต่การนำนี้เริ่มจะลดน้อยลง สภาพเช่นนี้ปรากฎมากขึ้นเรื่อยๆ และในระดับสูงสุด รัฐกับคณะสงฆ์ก็ไม่ประสานกันเหมือนสมัยโบราณ สมัยโบราณนี้พระสงฆ์กับพระเจ้าแผ่นดิน แม้จะเป็นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็ยังมีความใกล้ชิ รู้เรื่องกันดีกว่าคณะสงฆ์กับรัฐบาลสมัยนี้ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะสถาบันสงฆ์ยังมีอิทธิพลมากในเมืองไทย ถ้าหากว่าสถาบันทั้งสองฝ่ายนี้ได้ประสานกันดี ก็จะช่วยให้การดำเนินกิจการด้านต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้องดียิ่งขึ้น..."

"...ถ้าคติเถรวาท ก็เอาตัวแค่พอรอด คือเอาตัวให้พอรอด แต่มุ่งหน้าทำเพื่อประโยชน์สุขแก่คนทั่วไป ถ้าเอาคตินี้มาใช้ก็คงจะแก้ไขปัญหาสังคมปัจจุบันนี้ได้มาก เพราะสังคมปัจจุบันมันจะเอียงไปทางคติอย่างที่ว่าแล้ว คือเอาสบายแต่ตัว คนอื่นจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ถ้าเราใช้ชาวพุทธเป็นผู้ปรุงแต่งบันดาลชะตากรรมของสังคมไปในทางที่ดีงาม ก็ต้องให้ชาวพุทธทำตามหลักการของพระพุทธศาสนา หลักพุทธศาสนาเป็นอย่างไร ก็ดังที่ที่อาตมาภาพเสนอให้ฟังนี่สุดแต่จะพิจารณากัน..."

คำโปรยนำมาจาก ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ (มีนาคม ๒๕๒๗) ดำเนินการพิมพ์โดย สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ คุณอุดม เย็นฤดี ประธานกรรมการ พร้อมทั้งอดีตนายก สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการ สยามสมาคม และผู้มีเกียรติทั้งหลาย ณ สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์