กิจกรรม

บรรพชา อุปสมบท

 


".... การที่จะบรรลุผลของการบวช ก็ต้องมีการ "เรียน"
คือศึกษาฝึกหัดพัฒนาชีวิตของเรา ทั้งกาย วาจา ใจ และปัญญา
ให้ดี ให้ประณีต ให้เจริญงอกงามยิ่งๆ ขึ้นไป จนกว่าจะละบาปอกุศลได้หมด
และเจริญกุศลให้เต็มที่ หลุดพ้นจากกิเลสและปวงทุกข์
มีชีวิตจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส เป็นอิสระ สงบสุขอย่างแท้จริง
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า "บวชเรียน"
หมายความว่า บวชเพื่อเรียน หรือว่าการบวชก็คือชีวิตแห่งการเรียน ...."



เมื่อเริ่มสนใจจะ "บวชเรียน"

กุลบุตรผู้มีศรัทธาประสงค์จะขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เพื่อบวชเรียนในหลักสูตรพระนวกะ 
ต้องมีระยะเวลาในการบรรพชาอุปสมบท ๑ เดือน หรือ ๓ เดือน (ในช่วงพรรษา) เป็นอย่างน้อย
เพราะวัดญาณเวศกวัน มุ่งเน้นการศึกษาและปฏิบัติเพื่อฝึกฝนพัฒนาตนเอง
โดยจะมีการถวายความรู้แก่ภิกษุผู้บวชใหม่ตลอดระยะเวลา ๑ เดือน หรือ ๓ เดือน (ในช่วงพรรษา)
มิได้มุ่งเน้นเฉพาะการบรรพชา-อุปสมบท ตามประเพณีนิยมเท่านั้น

กำหนดการ "บวชเรียน" ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๘

รุ่นที่ ๒/๖๘  ช่วงวันวิสาขบูชา (๑ เดือน : ๔ พฤษภาคม - ๓ มิถุนายน ๒๕๖๘)            (วันสัมภาษณ์ ๓๐ มี.ค. ๖๘)
รุ่นที่ ๓/๖๘  ช่วงเข้าพรรษา (๓ เดือนในพรรษา : ๖ กรกฎาคม - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๘)  (วันสัมภาษณ์ ๓๐ มี.ค. ๖๘)
รุ่นที่ ๔/๖๘  ช่วงปีใหม่ (๑ เดือน : ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๘ - ๒๗ มกราคม ๒๕๖๘)          (วันสัมภาษณ์ ๑๖ พ.ย. ๖๘)


บทเรียนที่ ๑   ทำความรู้จักกัน ก่อนสมัคร "บวชเรียน"

- ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับการบวช ต่อไปนี้
- ฟังธรรมบรรยายชุด "ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม"  


บทเรียนที่ ๒   ก่อนย่างทางธรรม  

ผู้สนใจสมัครบวชเรียนทุกท่าน เข้าร่วมกิจกรรม "ก่อนย่างทางธรรม" 
ตั้งแต่เวลา ๑๒.๐๐ น.  ที่วัดญาณเวศกวัน
-  ทำความรู้จักวัด และพบปะสนทนากับพระอาจารย์ พระพี่เลี้ยง
- กิจกรรมนี้ไม่ใช่การสอบสัมภาษณ์เพื่อแข่งขันหรือคัดเลือกคนที่เก่งที่สุด
หากแต่เป็นการทำความรู้จักซึ่งกันและกัน ระหว่างครูอาจารย์ และผู้ที่ต้องการบวชเรียน
เพื่อจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความพร้อม และน่าจะเกื้อกูลแก่การศึกษาร่วมกันได้ดี
- เยี่ยมชมวัด สัมผัสวิถีชีวิต และทดลองปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เช่น
การสวดสาธยายธรรม, เจริญจิตภาวนา, ฟังธรรม, กวาดทำความสะอาดเสนาสนะ
- ทำความรู้จัก หลักสูตรเสริมความรู้พระนวกะ
ศึกษาเพิ่มเติม : งานวิจัยเรื่อง "บวชพระ ให้ถึงธรรม (ในเวลาจำกัด)"

 

บทเรียนที่ ๓   เตรียมบวช เรียนตั้งแต่ที่บ้าน

คลิกที่นี่ เพื่อดูประกาศรายนามผู้ผ่านกิจกรรม ก่อนย่างทางธรรม และทำบทเรียนที่ ๓
- ชวนให้ทุกท่านฟังธรรมบรรยายชุด "ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม" ตอนที่ ๓ ถึง ๖๐
- ชวนให้ทุกท่านเริ่มเตรียมตัว ปรับใจ และบันทึกการฝึกตนเล็กๆ น้อยๆ เป็นประจำทุกสัปดาห์
- ติดต่อกองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อขอผลตรวจสอบประวัติบุคคล
 
- ๘ ถึง ๑๐ สัปดาห์ ก่อนวันบวช
ผู้ที่พร้อมสำหรับการบวชเรียน ให้แจ้งยืนยันสิทธิ์ของการเป็นตัวจริง และตัวสำรอง

พร้อมส่งผลการตรวจสอบประวัติบุคคล จากกองทะเบียนประวัติอาชญากร
(ผู้ที่เป็นตัวจริงและตัวสำรอง หากไม่แจ้งยืนยันสิทธิ์ตามเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์)
-  ๗ สัปดาห์ ก่อนวันบวช
ประกาศรายชื่อนาคที่จะบวชเรียนแต่ละรุ่น
พร้อมหนังสือรับรองสำหรับกรณีที่ต้องใช้ในการลางาน

(โดยเรียงลำดับจากผู้ยืนยันสิทธิ์ตัวจริง และตัวสำรอง จนครบตามจำนวนเสนาสนะที่ว่าง)



บทเรียนที่ ๔   เตรียมซ้อมพิธีบวช

-  ๓ สัปดาห์ ก่อนวันบวช
(ทุกวันอาทิตย์ ๓ ครั้ง เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.)
นาคร่วมกิจกรรม และซักซ้อมพิธีบวชร่วมกัน ณ อุโบสถ
พร้อมทั้งให้ญาติหรือผู้ปกครองมาประชุมหารือเกี่ยวกับการเตรียมตัว และเตรียมการจัดงาน
โดยวัดสามารถจัดบริขารที่จำเป็นให้ได้ โดยผู้บวชไม่จำเป็นต้องเตรียมเองก็ได้
แต่หากผู้บวชต้องการจัดหาเอง พึงรอฟังคำชี้แจงในการหารือกันนี้ก่อน

- นาคเริ่มฝึกท่องคำแบบสำหรับพิธีบรรพชา อุปสมบท ตามแบบที่กำหนด
(คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดหนังสือสวดมนต์ (ดูหน้า ๙๐ - ๙๙))
(คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดคลิปวีดีโอตัวอย่างพิธีบรรพชาอุปสมบท)
-  วันเสาร์ก่อนวันบวช  (เวลาประมาณ ๙.oo - ๑๗.๐๐ น.)  
นัดหมายทำความสะอาดกุฏิ เสนาสนะ และเตรียมความพร้อมร่วมกัน
พร้อมทั้งส่งเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องในการบวชทั้งหมด

หมายเหตุ :
- กำหนดการต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยบอกแจ้งผ่านทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊กวัดญาณเวศกวัน
-
 แนวปฏิบัติในการสมัครบวชเรียนนี้ มุ่งหวังให้เป็นกระบวนการเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้สนใจ

   ให้ได้ศึกษาฝึกฝนตนเองไปตามลำดับ  และได้รับประโยชน์จากการบวชเรียนเต็มตามศัพยภาพของตน
- แนวปฏิบัติในการสมัครบวชเรียนนี้  เริ่มใช้สำหรับรุ่นพรรษา ปี ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
  ในระหว่างปี ๒๕๖๖- ๒๕๖๗ อาจมีการอนุโลมข้อปฏิบัติบางขั้นตอนสำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบข้อมูล
   โดยอาจได้รับการพิจารณาเป็นรายกร
s
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง