Dhamma Talks

Track no.: ๙ ธรรมะสู่การเมือง

นิติศาสตร์แนวพุทธ ช่วงที่ ๓

Length ๐:๕๔:๓๓

LanguageThai
In CDธรรมะสู่การเมือง
Abstract[00:51] นิติศาสตร์แนวพุทธ
[06:14] มนุษย์มองกฎหมายเป็นอะไร: เป็นเครื่องบังคับ เป็นข้อฝึกตน หรือเป็นสิ่งหมายรู้
[10:57] เข้าถึงสมมติด้วยปัญญา สร้างสรรค์อารยธรรม เจริญงอกงาม
[21:35] กฎมนุษย์ต้องไม่แปลกแยกจากกฎธรรมชาติ
[27:35] ผู้บัญญัติกฎหมายที่จริงแท้ รู้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ที่แท้จริง
[32:53] กฎหมายแท้มีหลักอยู่ในใจที่ต้องรักความเป็นธรรม
[35:28] สร้างกฎหมายเอื้อสร้างคน เป็นเครื่องมือฝึกตน สู่ชีวิตที่ดีงาม
[39:49] ความจริงในกฎธรรมชาติ เป็นฐานสร้างกฎสังคม
[45:54] ในพุทธศาสนา การปกครองคือเรื่องของการศึกษา โดยการศึกษา และเพื่อการศึกษา

----------------------------------

[05:21] แง่ของนิติศาสตร์แนวพุทธอันหนึ่งคือ ผู้พิพากษาคิดว่าต้องทำใจแบบนี้ อย่าไปนึกว่าเราเป็นผู้ลงโทษ ถ้าคิดอย่างนี้ผิดแน่นอน เป็นเพียงกระบอกเสียงให้แก่ตัวหลักการเท่านั้น ...ฉะนั้นคนที่ดำเนินการอย่างนี้ถือว่า ดำเนินการตามธรรมะ เป็นสื่อให้แก่ตัวธรรมะ เป็นกระบอกเสียงแก่ตัวธรรมะ...

[10:19] ถ้ามนุษย์พัฒนาถึงขั้นนี้ได้ มีความรู้สึกต่อกฎหมายอย่างนี้ได้ ก็เป็นมนุษย์ที่พัฒนาแล้ว ... เขาจะมองกฎหมายว่าเป็นสิ่งหมายรู้ร่วมกัน นี่คือ “สมมติ” ความหมายของสมมติที่แท้จริง

[34:29] ...กฎหมายแท้มีหลักอยู่ในใจ ที่ต้องรักความเป็นธรรม รักตัวธรรมะ และก็รักประโยชน์สุขของสังคม ...คือ ต้องมีทั้งตัวเจตนา เจตจำนง มีเมตตา มีความใฝ่ปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ ปรารถนาดีต่อมนุษยชาติ ต่อสังคม แล้วก็มีความรู้ มีปัญญาที่เข้าถึงความจริง จนกระทั่งว่า ถือธรรมเป็นใหญ่ เมื่อใดนักกฎหมายถือธรรมเป็นใหญ่ ท่านเรียกว่า เป็น “ธรรมาธิปไตย”

[48:29] ...ในพุทธศาสนา การปกครองคือ เรื่องของการศึกษา โดยการศึกษา และเพื่อการศึกษา ...ในนิติศาสตร์แนวพุทธ กฎหมายจะต้องมีแนวโน้มในการที่จะสร้างระบบสังคม สภาพแวดล้อม ระบบความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ในทางที่จะเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ให้มนุษย์เข้าถึงจุดหมายของชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นไป
Preceding Clipนิติศาสตร์แนวพุทธ ช่วงที่ ๒
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.