คนไทยกับป่า

...อารยธรรมตะวันตกมาจากรากฐานทางความคิด  ที่มองมนุษย์แยกต่างห่างจากธรรมชาติ  แล้วไม่ใช่มองมนุษย์แยกต่างห่างจากธรรมชาติเท่านั้น  ยังมองในลักษณะ  ที่มนุษย์จะต้องเข้าไปครอบครอง  เป็นนายเหนือธรรมชาติ  เป็นผู้พิชิตธรรมชาติ  ซึ่งก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะได้ไปจัดสรรธรรมชาติ  จัดการปั้นแต่งมาเป็นสิ่งบริโภคเพื่อรับใช้สนองความต้องการของมนุษย์...

...เมื่อกล่าวถึงหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาเองแท้ๆ  เรื่องระบบของการพึ่งพาอาศัยกันนี้  ท่านย้ำมาก  แต่นอกจากการพึ่งพาอาศัยกันแล้ว  สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ  ความรู้สึกที่ดีงามต่อกันระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์  และมนุษย์ต่อพืชและสัตว์ทั้งหลาย  ความรู้สึกที่เรียกว่าความ "กตัญญู"  ความกตัญญูนี้ไม่ใช่มีเฉพาะต่อมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น  แต่ท่านให้มีแม้ต่อสัตว์และพืชทั้งหลายด้วย...

...ในพระไตรปิฎก  สอนให้รู้คุณแม้แต่ของพืช  มีใจความแปลเป็นไทยว่า  "บุคคลนั่งหรือนอนในร่มเงาของต้นไม้ใด  ไม่พึงหักรานกิ่งใบของต้นไม้นั้น  ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนทราม"...

LanguageThai
Sourcefrom ธรรมกถา ปาฐกถา for คณาจารย์ และนิสิต ผู้ฝึกปฏิบัติงานภาคฤดูร้อน at สถานพำนักสงฆ์สายใจธรรม เขาำสำโรงดงยาง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา on/in 28 April 2536
Development- พิมพ์ครั้งที่ ๑ คณะกรรมการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ดร.สุรีย์ ภูมิภมร จัดให้มีการคัดลอกธรรมกถาจากแถบบันทึกเสียง พ.ศ. ๒๕๓๗
- พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ (อินศร จินฺตาปญฺโญ) จัดทำรูปเล่ม พ.ศ.๒๕๓๗
First publishingMay 2537
Latest publishing onPublishing no. 8 February 2554
ISBN974-7890-09-7, 974-268-8702, 974-01-2307-4, 974-80
Dewey no.BQ4570.S7
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.