ในสังคมทั้งหลายทั่วไป มีวัฒนธรรมนับถือผู้สูงอายุ เป็นเรื่องธรรมดา อย่างที่ว่าแล้ว เนื่องจากเป็นผู้ที่ได้เรียนรู้มาก่อน มีประสบการณ์ที่จะบอกจะสอนแก่คนรุ่นหลัง ที่เรียกว่าอนุชน และจากการเรียนรู้คือการศึกษานั้น ยิ่งมีชีวิตอยู่นานไป คนสูงอายุขึ้นก็ยิ่งดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น มีจิตใจและปัญญาที่เจริญพัฒนามากขึ้น แม้จะแก่เฒ่าชราลงไป ร่างกายจะถอยกำลังอ่อนแอลง แต่จิตใจและปัญญาก็เข้มแข็งอยู่ได้ จิตใจและปัญญาที่พัฒนาดีแล้วนั่นแหละ คือคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต ดังนั้น ผู้สูงอายุ ที่สูงธรรม สูงปัญญา จึงเป็นสมบัติสูงค่าของสังคม ที่คนจะเคารพและเชิดชูบูชา อันจะนำประโยชน์มาให้อย่างยั่งยืนหรือตลอดไป
In societies in general, it is normal, as said earlier, that there exists a culture of respecting elders. As they have got to learn first, they have experiences to relate and teach to people of subsequent generations, referred to as anujana "later-born ones". From their learning, namely education, the longer they live on and the more elderly they become, the better they can lead their lives, and the more developed their mind and wisdom. Even though they become older, enervated, and weaker, their mind and wisdom are able to stay robust. it is their well-developed mind and wisdom that consitute the genuine value of their lives.
Language | Dual Thai-English |
---|---|
Type | สนทนา/เขียนร่วม |
Translated from |
ถ้าสูงอายุเป็น ก็น่าเป็นผู้สูงอายุ ศ.ดร.สมศีล ฌานวังศะ แปล รศ.ดร.วิภา ฌานวังศะ ทวนทาน |
First publishing | May 2561 |
---|---|
Latest publishing on | Publishing no. 1 May 2561 |
ISBN | 978-616-468-186-6 |
Dewey no. | No related data |