การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย

...การศึกษาจะต้องสร้างจิตใจวิทยาศาสตร์ คือ ความใฝ่ปรารถนา ที่จะเข้าถึงสัจจธรรมและปัญญาขึ้นมาให้ได้ และจุดนี้ก็เป็นจุดที่ศาสนา และวิทยาศาสตร์มาบรรจบกับการศึกษา แล้วมันก็จะโยงต่อไปอีกถึงว่า การศึกษานั้น จะต้องสร้างคนให้มีพลังแห่งจริยธรรม ที่จะผลิตและใช้เทคโนโลยีในทางที่ถูกต้องดีงาม...

..การสอนคนให้มีความรู้เชี่ยวชาญพิเศษอย่างเดียวไม่พอ ถ้าทำอย่างนั้น คนก็จะกลายเป็นเครื่องจักรกลที่มีประโยชน์ชนิดหนึ่ง แต่ไม่เป็นบุคลิกภาพที่ได้รับการพัฒนาประสานกลมกลืน...คนที่มีความรู้ที่เชี่ยวชาญพิเศษจะคล้ายกับสุนัขที่ฝึกดีแล้ว มากกว่าจะเป็นบุคคลเต็มคน...

Development
  • "การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย" เป็นหนังสือที่คณะกรรมการโครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำขึ้นเนื่่องในวาระครบรอบ ๒๐ ปี ของคณะศึกษาศาสตร์ ปรับปรุงใหม่จาก "ทางสายกลางของการศึกษาไทย" โดยเพิ่มเดิมเนื้อหา และจัดลำดับใหม่ให้เหมาะสม ภายในหนังสือแบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น ๒ ตอน ตอนที่หนึ่ง ประกอบด้วยงานนิพนธ์ ๕ เรื่อง คือ ๑) การศึกษา : เครื่องมือที่ยังต้องพัฒนา ๒) พุทธธรรมที่เป็นพื้นฐาน สำหรับหลักสูตรศึกษาศาสตร์ ๓) รุ่งอรุณของการศึกษา ๔) ความคิด : แหล่งสำคัญของการศึกษา ๕) สัจจธรรมกับจริยธรรม ตอนที่สอง ได้รวบรวมประวัติ ผลงานบรรณนิทัศน์งานนิพนธ์ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) พร้อมทั้งคำถวายดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงต่างๆ ของไทย ได้ประกาศเกียรติคุณผลงานในแขนงต่างๆ ของท่าน
First publishingNovember 2532
Latest publishing onPublishing no. 26 November 2532
ISBN974-552-900-1
Dewey no.BQ4570.E3

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

Found matched 5 books
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.