การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)

...เป้าหมายของการพัฒนาที่จะทำให้อุตสาหกรรมเจริญขึ้น โดยมีวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นเจ้าบทบาทใหญ่นี้ก็เพื่อสิ่งที่เขาเรียกว่า economic growth คือความเจริญเติบโตขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ....

    ...อย่างไรก็ตาม กระบวนการพัฒนา ถ้าพูดแค่นี้ก็ยังไม่ครบ เป็นการมองที่ไม่ทั่วตลอด การพัฒนาไม่ใช่แค่นี้ คือไม่ใช่แค่ว่าพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรม...พร้อมกันนั้นสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คืออะไรเป็นตัวกรรมที่ถูกกระทำ เพราะว่าในการที่จะเจริญอย่างนี้ได้ จะต้องมีสิ่งที่ถูกกระทำ สิ่งที่ถูกกระทำเพื่อจะเอามาสร้างความเจริญหรือทำให้เกิดความเจริญทางอุตสาหกรรมนั้น ก็คือธรรมชาติ หรือสิ่งที่เราเรียกในปัจจุบันว่าธรรมชาติแวดล้อมนั่นเอง...

LanguageThai
Sourcefrom ธรรมกถา ปาฐกถา for คณะผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งฝ่ายบรรพชิต และฆราวาส at หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ on/in 19 March 2536
Development
  • การพิมพ์ครั้งที่ ๒ (มกราคม ๒๕๓๙) จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธธรรม มีการปรับปรุง ตัดส่วนนำเรื่องที่เป็นเรื่องเฉพาะกรณีออก
  • การพิมพ์ครั้งที่ ๒ (มกราคม ๒๕๓๙) และการพิมพ์ครั้งอื่นๆ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง ยังคงส่วนคำนำของผู้เกี่ยวข้อง และส่วนนำเรื่องของผู้ปาฐกถาไว้
  • การพิมพ์ครั้งที่ ๒๑ (กรกฎาคม ๒๕๖๑) (จัดปรับใหม่-เพิ่มเติม) ใช้ต้นฉบับข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ (ปัจจุบันคือพระมงคลธีรคุณ) พิมพ์ไว้เมื่อเดือน ตุลาคม ปี ๒๕๔๘ ซึ่งเมื่อตรวจสอบเนื้อใน ปรากฏว่า ก็คือหรือตรงกับฉบับที่มูลนิธิโกมลคีมทองขออนุญาตพิมพ์ ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยได้ตรวจสอบเทียบต้นฉบับปี ๒๕๔๘ นั้น กับฉบับที่มูลนิธิโกมลคีมทองพิมพ์ครั้งล่าสุดใน พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยพระครูสังฆวิจารณ์ (พงศธรณ์ เกตุญาโณ) ปรากฏว่าเหมือนกันเท่ากันตลอดเล่ม ผิดกันบ้างเพียงตัวสะกดในบางแห่ง และได้ตรวจสอบการสะกดคำต่างๆ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับล่าสุด เป็นต้น ให้ด้วย ทั้งได้ติดต่อสอบถามไปทางมูลนิธิโกมลคีมทองถึงความเป็นมาเป็นไป ซึ่งทางมูลนิธิฯ บอกว่าได้รับต้นฉบับหนังสือไปครั้งแรกในปี ๒๕๓๘ และได้ใช้ฉบับนั้นอย่างเดียวเป็นต้นแบบตลอดมา ไม่เคยเปลี่ยนแปลง (ความที่ว่านี้บ่งชี้ด้วยว่า ถ้าผู้เขียนได้แก้ไขเพิ่มเติมอะไรในหนังสือนั้นหลังปีที่กล่าว ก็จะไม่พบในฉบับทั้งสองที่เทียบกันนั้น) เมื่อได้ข้อยุติดังที่ว่า จึงใช้ต้นฉบับข้อมูลคอมพิวเตอร์ปี ๒๕๔๘ นั้นเป็นเนื้องานในการจัดทำต้นฉบับใหม่ โดยจัดปรับรูปแบบ หน้าหนังสือ เช่น ซอยย่อหน้า แยกข้อความ ให้ชัดเจน และดูง่ายอ่านง่าย กระชับ รัดกุม ตลอดเล่มแต่เนื้อหาแทบทั้งหมดคงไว้อย่างเดิม มีการปรับปรุงถ้อยคำ และแทรกเพิ่มข้อความบางแห่งเพียงเล็กน้อย แต่ได้เพิมเติมส่วนใหม่ ๒ อย่าง คือ "บทต่อท้าย ก่อนตั้งต้น : การพัฒนาที่ยั่งยืน ของโลก มากับ การพัฒนาความสุขที่ยั่งยืน ของคน" และ "ภาคผนวก : ถิ่นรมณีย์ คือที่ตั้งต้นของพระพุทธศาสนา" ในขั้นตอนการจัดพิมพ์ พระครูวินัยธร (ชัยยศ พุทฺธิวโร) ได้ช่วยทำหน้าที่เหมือนเป็นศูนย์ประสานงาน รวมทั้งออกแบบปกให้ด้วย และดำเนินการจนหนังสือเสร็จเป็นเล่มออกมา
First publishingAugust 2537
Latest publishing onPublishing no. 26 May 2565
ISBN974-7092-09-3
Dewey no.BQ4570.S6
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.