ธรรมนูญชีวิต: พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม

...วินัยชาวพุทธเป็นเกณฑ์อย่างต่ำ สำหรับการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ ส่วนธรรมนูญชีวิตเป็นประมวลหลักธรรมทั่วไป เพื่อการดำเนินชีวิตทีดีงาม ซึ่งอาจเป็นส่วนขยายของวินัยชาวพุทธ ผู้ปฏิบัติอาจใช้วินัยชาวพุทธ เป็นเกณฑ์ตรวจสอบเบื้องต้นสำหรับการดำเนินชีวิตของตน แล้วก้าวสู่คุณสมบัติและข้อปฏิบัติในธรรมนูญชีวิต เพื่อดำเนินชีวิตให้ดีงาม มีความสำเร็จ และเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น จนถึงความสมบูรณ์...

LanguageThai
Sourcefrom การประพันธ์
Combined from ธรรมนูญชีวิต
วินัยชาวพุทธ
Part of the Book-
Development
  • หนังสือนี้มีกำเนิดจากความคิดที่จะอนุโมทนาต่อศรัทธา และคุณงามความดี อันเป็นบุญจริยา ของพุทธศาสนิกชนชาวไทยในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ไปช่วยอุปถัมภ์สนับสนุนการปฏิบัติศาสนกิจของผู้เขียน ระหว่างพำนักอยู่ ณ ประเทศนั้นใน พ.ศ. ๒๕๑๙
  • เรื่องมีว่า เมื่อต้น พ.ศ. ๒๕๑๙ ผู้เขียนได้รับอาราธนาไปเป็นวิทยากรในวิชาฝ่ายพระพุทธศาสนา ณ สวอร์ทมอร์วิทยาลัย ในรัฐเพนน์ซิลเวเนีย โดยมีคุณบุญเลิศ โพธินี ร่วมเดินทางไปช่วยทำหน้าที่เป็นไวยาวัจกร ระหว่างพำนักอยู่ ณ ที่นั้น พุทธศาสนิกชนชาวไทยในถิ่นใกล้เคียง คือ ตำบลที่ติดต่อกับสวอร์ทมอร์บ้าง ในเมืองฟิลาเดลเฟียบ้าง ตลอดถึงบางเมืองในรัฐนิวเจอร์ซี ได้ไปเยี่ยมเยียนและอุปถัมภ์อำนวยความสะดวกต่างๆ โดยเฉพาะด้านพาหนะ นอกจากนั้น ยังได้บริจาคปัจจัยทำบุญในโอกาสต่างๆ ด้วย ผู้เขียนได้เกิดความรู้สึกในเวลานั้นว่า การที่ท่านผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย ไปถวายความอุปถัมภ์ด้วยภัตตาหาร และการอำนวยความสะดวกต่างๆ ก็นับเป็นความเกื้อกูลอย่างยิ่งอยู่แล้ว สำหรับปัจจัยที่บริจาคถวายนั้นตั้งใจว่าจะส่งผลานิสงส์กลับคืนให้แก่ผู้บริจาคด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะเกิดดอกออกผลเป็นบุญกุศลเพิ่มพูนคุณความดียิ่งๆ ขึ้นไป โดยที่ทั้งผู้บริจาคและผู้รับบริจาคได้มีส่วนบำเพ็ญจาคธรรมร่วมกัน
  • อาศัยความตั้งใจนี้ ประกอบกับความคิดพื้นเดิมที่ว่า น่าจะมีหนังสือแสดงหลักธรรมพื้นๆ ง่ายๆ ที่เหมาะแก่คฤหัสถ์ทั่วไปสักเล่มหนึ่ง สำหรับมอบให้เป็นประโยชน์ด้านความรู้ทางธรรม แก่ท่านผู้ศรัทธาซึ่งอยู่ห่างไกล พร้อมทั้งจะได้เผยแพร่ให้เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนอื่นๆ กว้างขวางออกไปด้วย อาศัยข้อปรารภนี้ ผู้เขียนจึงได้ใช้เวลาช่วงท้ายของการพำนักที่สวอร์ทมอร์ หลังจากทำหน้าที่วิทยากรให้แก่วิทยาลัยนั้นเสร็จสิ้นแล้ว รวบรวมเรียบเรียงหนังสือ คู่มือดำเนินชีวิต ขึ้น งานเรียบเรียง แม้จะได้ใช้หนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ที่ผู้เขียนจัดทำไว้ก่อนแล้วเป็นฐาน ก็ยังกินเวลาในการปรุงแต่ง ขัดเกลาคำอธิบาย และตรวจสอบความหมายตามคัมภีร์ อีกมิใช่น้อย เมื่อเขียนเสร็จยังไม่ทันได้พิมพ์ ก็เดินทางออกจากสวอร์ทมอร์เสียก่อน ต่อมาระหว่างพักอยู่ที่วัดวชิรธรรมปทีป นครนิวยอร์คตามคำอาราธนาของวัดนั้น จึงได้มีโอกาสจัดพิมพ์ขึ้น ในรูปตัวพิมพ์ดีดโรเนียวเย็บเล่ม โดยได้รับความช่วยเหลือจากพระสงฆ์วัดวชิรธรรมปทีป และได้ใช้ทุน ซึ่งผู้ศรัทธาได้บริจาคถวายที่สวอร์ทมอร์ สมตามความตั้งใจ นอกจากนั้น ทางวัดวชิรธรรมปทีปเองก็ได้พิมพ์เผยแพร่เพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งด้วย ต่อมาทางเมืองไทย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเจ้าภาพอื่น บางราย ได้ขออนุญาตบ้าง ถือวิสาสะบ้าง นำไปพิมพ์แจกในโอกาสต่างๆ นับว่าหนังสือได้แพร่หลายมากขึ้น
  • ทางด้านผู้เขียนเอง เมื่อกลับเมืองไทยแล้ว ก็ได้ปรับปรุง คู่มือดำเนินชีวิต จัดพิมพ์เป็นธรรมทานใหม่อีก ในเดือนมกราคม ๒๕๒๒ นับเป็นการพิมพ์ครั้งที่ ๔ มีที่แก้ไขปรับปรุงจากเดิมเป็นอันมาก และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ธรรมนูญชีวิต หลังจากนั้น มีผู้ขอพิมพ์เผยแพร่อีก ๒-๓ ครั้ง เฉพาะในการพิมพ์ครั้งใหม่นี้ ได้แก้ไขปรับปรุงอย่างมากตลอดเล่ม โดยมุ่งให้อ่านง่ายและจำง่ายยิ่งขึ้น (กรมการศาสนาขอพิมพ์ใหม่ในชื่อว่า พุทธจริยธรรม)
  • ขออนุโมทนา และอำนวยพรแก่พุทธศาสนิกชน ย่านใกล้เคียงสวอร์ทมอร์ ในฐานะที่ท่านเหล่านั้นเป็นเจ้าของศรัทธาและบุญจริยา ที่เป็นแรงดลใจให้หนังสือเล่มน้อยนี้เกิดมีขึ้น และขออนุโมทนาอาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ที่ได้ช่วยอนุเคราะห์รับภาระเป็นไวยาวัจกรเพื่อการนี้โดยตลอด ขอทุกท่านจงเป็นผู้มีส่วนในความดีงาม และกุศลผลานิสงส์ ซึ่งจะพึงบังเกิดมีจากธรรมวิทยาทานนี้ทั่วกัน (พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ๑๙ เมษายน ๒๕๒๓
  • "ธรรมนูญชีวิต : พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม" นี้พัฒนามาจาก "คู่มือดำเนินชีวิต" ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น "ธรรมนูญชีวิต"  (๒๑๐)  ข้อสังเกตระหว่าง ๒๑๐ และ ๒๑๕  คือ ๒๑๐  ที่ไม่มีเนื้อหา "วินัยชาวพุทธ"  เป็นหัวข้อแรกเหมือนใน ๒๑๕
  • มีรายละเอียดการพัฒนา-ปรับปรุง ระบุไว้ในคำปรารภ และบันทึกท้ายเล่ม อย่างละเอียดแล้ว
First publishing 2519
Latest publishing onPublishing no. 263 July 2566
ISBN974-7701-05-7, 974-575-114-6
Dewey no.BQ4570.L5

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

Found matched 4 books
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.