ธรรมกับการศึกษาของไทย

...ค่านิยมเป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นสิ่งที่มีผลต่อพฤติกรรม เป็นตัวกำหนดบรรดาพฤติกรรมของคน แล้วก็จะมีผลเป็นการบันดาลชะตากรรมของสังคมได้ด้วย ฉะนั้น ค่านิยมจึงเป็นเรื่องที่จะต้องเอาใจใส่มาก และในเมื่อมีผลต่อชีวิตของคนและต่อสังคม ก็เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ... การที่เราจะปล่อยให้ค่านิยมมากำหนดวิถีชีวิตของคน กำหนดพฤติกรรมของคนในสังคม โดยปล่อยให้เป็นไปตามเรื่องตามราว โดยไม่มีการควบคุมดูแลนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ถ้าการศึกษาปล่อยในสิ่งเหล่านี้ การศึกษาก็ได้ชื่อว่าไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเองให้ครบถ้วน การที่จะทำหน้าที่ของการศึกษาให้ถูกต้องก็คือ การเป็นฝ่ายกำหนดควบคุมค่านิยม หมายความว่า การศึกษาจะต้องเอาใจใส่ในเรื่องค่านิยมนี้ และเป็นผู้ควบคุมวางแผน พยายามที่จะผันแปร หันเห นำทางค่านิยมของสังคมให้เป็นไปในทางที่ดีมีประโยชน์ และเอื้อต่อกันกับการศึกษา...

LanguageThai
Sourcefrom ธรรมกถา ปาฐกถา for นายกสภามหาวิทยาลัย, ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ณ อยุธยา องคมนตรี, ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา, คณาจารย์ และผู้เข้าร่วมประชุม at คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย on/in 10 July 2530
Development
  • การพิมพ์ครั้งแรก (ตุลาคม ๒๕๓๑) จัดพิมพ์โดย โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการพิมพ์ครั้งที่ ๒ (พฤษภาคม ๒๕๓๒) จัดพิมพ์โดย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูศรีวิเทศธรรมคุณ ยังคงส่วนที่เป็นเรื่องเฉพาะกรณีไว้
  • การพิมพ์ครั้งแรก (ธันวาคม ๒๕๓๘) มีการปรับปรุง ตัดส่วนที่เป็นเรื่องเฉพาะกรณีออก จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธธรรม
First publishingOctober 2531
Latest publishing onPublishing no. 6 2539
ISBN974-7890-42-9
Dewey no.BQ4570.E3
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.