ธรรมบรรยาย

ลำดับที่ ๔ ชุด ฟังธรรมตามกาล ๒๕๔๕

สุขที่สมาน ประสานกับรักที่แท้

ความยาว ๐:๕๑:๓๔ ชั่วโมง

ภาษาไทย
อยู่ในชุดฟังธรรมตามกาล ๒๕๔๕
ข้อมูลเบื้องต้น[00:46] นำเรื่อง
[01:46] มงคลที่แท้นั้นทางพระท่านว่าเกิดจากกุศล
[03:51] พิธีนั้นก็สำคัญ แต่สาระที่แท้จริง ก็คือเนื้อหาสาระที่เป็นความหมาย เป็นคุณค่าทางจิตใจ
[06:16] พิธีมงคลแม้จะสำคัญแต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ ธรรมมงคลเป็นของยั่งยืน เราควรทำให้สมบูรณ์ทั้งสองอย่าง
[09:01] ฆราวาสธรรม ธรรมะสำหรับการครองเรือนก็เป็นธรรมมงคล เป็นมงคลที่แท้จริงและยั่งยืน
[31:58] จะให้ธรรมมงคลยั่งยืนนานก็ต้องมีตัวปัญญาเข้ามา
---------------------------------
[07:55] หลักคำสอนเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การปฏิบัติต่อกันในชีวิตครอบครัวมีมาก พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ เริ่มตั้งแต่หน้าที่ต่อกันระหว่างสามีภรรยา ตามหลักทิศ 6 ฝ่ายละ 5 แล้วก็มีธรรมะอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องลึกเข้าไปในจิตใจ คือว่าไปแล้วมันก็มีเรื่องหน้าที่ปฏิบัติต่อกันที่ภายนอก แล้วก็สิ่งที่สำคัญคือมาจากฐานภายในจิตใจ ที่เราจะประพฤติปฏิบัติแสดงออกมาจากภายนอกได้ดี มีความมั่นคง จริงใจ ก็เกิดจากคุณธรรมในใจ ทีนี้คุณธรรมในใจก็มีอีกเยอะ นอกจากพฤติกรรม มันก็ออกไปจิตใจ แล้วก็เรื่องความรู้ความเข้าใจ เรื่องปัญญา ถ้าพร้อม 3 ด้านเมื่อไหร่ก็เรียกว่าครบ คือต้อง หนึ่งพฤติกรรมสดงออกต้องมาจากฐานในจิตใจที่มีความรัก มีคุณธรรม มีความจริงใจแล้วก็สาม-ปัญญา ความรู้ความเข้าใจ

[09:51] คนเรานี่จะมีความสัมพันธ์อยู่กัน ไม่ว่าจะคนใกล้ชิดหรือห่างไกล หลักข้อแรกคือความจริงใจ ถ้าขาดความจริงใจซะอย่างเดียวแล้ว ท่านบอกว่าฐานเสียเลย คลอนแคลนหมดเลย อะไรทุกอย่างไปหมด พอมีความจริงใจอันนี้แล้ว เกิดฐานที่มั่นคงขึ้นมาทันที จริงใจ ความซื่อสัตย์ต่อกัน ความรักที่แท้ รักก็รักด้วยใจจริง ไม่มีความหลอกลวง เป็นต้น พอมีความจริงใจ ต่อจากนั้นก็จริงวาจา พูดจริง ไม่โกหก ไม่หลอกลวงกัน ต่อจากนั้นก็จริงการกระทำ
 ----------------------------------
ที่มาจาก เทศน์ บรรยาย แก่ คุณแก้วตา คุณทอมมี่ คุณแม่ ตลอดจนโยมญาติมิตร ณ วัดญาณเวศกวัน
เรื่องที่ควรฟังก่อนอย่าแค่มารวมศูนย์ แต่ต้องขึ้นให้สูง
เรื่องที่ต่อเนื่องจะอยู่กันดีด้วยหลักการหรือต้องคุมกันด้วยอาญา
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง